วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการสืบสวน พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข

การสัมภาษณ์ ซักถามและการสอบปากคำ
พล.ต.ต.สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข

ความสำคัญของการฟังในกระบวนการสัมภาษณ์ซักถาม  และการสอบปากคำ
   -เราสามารถแสวงหาข้อมูลที่ถูกต้องมากกว่าและสมบูรณ์มากกว่าได้โดยง่าย ด้วยการเพียงแต่  "ฟัง"
   -เรามักจะมอง  แต่ไม่เห็น  และมักจะได้ยิน  แต่ไม่ได้ฟัง
   -ความเร็วเฉลี่ยในการพูด   =  125 คำ/นาที
   -ความเร็วเฉลี่ยในการฟัง   =  400 คำ/นาที
   -การพูดแบบเล่าเรื่อง จะทำให้รับรู้ถึงมุมมองและความรู้สึกของผู้เล่าได้ดี  และถูกต้องมากกว่าการตั้งคำถาม
   ดังนั้น ตำรวจเราต้องเริ่มต้นด้วยการ  "ฟัง" ก่อน
   "การรับรู้"  (Perception)  มนุษย์จะรับรู้จากจำเรื่องคนอื่นเล่าได้เพียง 50%
   การฟังคนอื่น ให้รับรู้ความรู้สึกผู้อื่น  ไม่เอาตัวเราเป็นที่ตั้ง  เพราะจะทำให้เกิดความลำเอียง (Bias)
หลักของการฟัง   ฟังอย่างไรได้ประโยชน์
   1.เตรียมการฟัง
        - ทัศนคติเชิงสร้างสรรค์ ถ้าเราสามารถกำหนดเวลาและสถานที่ได้  ต้องกำหนด
ในสถานที่และเวลาที่เหมาะสม  สร้างสรรค์  ที่คนถูกสัมภาษณ์เต็มใจ
        - รับรู้สภาพแวดล้อม  การสอบที่บ้าน  จะรับรู้ทัศนคติของผู้ตอบได้ดีกว่า  แต่จะควบคุมพยานลำบาก  แต่การสอบที่ทำการ ควบคุมพยานได้ดีกว่า  แต่จะไม่รู้ถึงทัศนคติของผู้ตอบได้จริง
        - ตั้งใจฟัง
        - ประสานตา
   2.หยุดยิงคำถาม
        - อย่าขัดจังหวะ
        - อย่าด่วนสรุปหรือตัดสิน
   3.แสดงให้เห็นว่ากำลังฟัง
        - กำจัดสิ่งกีดกั้นทางกายภาพ  เช่น  โต๊ะที่นั่ง  ไมโครโฟนที่ขวาง จะทำให้รู้สึกห่างเหิน
        - เผชิญหน้า     ประมาณ 40% ของการสนทนากัน  ถ้าสูงหรือต่ำกว่านี้ไม่ดี
        - ประสานตา
        - ตอบรับโดยแสดงออกทางใบหน้า
        - แสดงอาการยอมรับตามสมควร
ลักษณะของผู้ฟังที่ดี  ให้อยู่ตามอารมณ์ของผู้พูด
   1.มองผู้พูด
   2.ถามคำถามเพื่อความชัดเจน
   3.แสดงความห่วงใยด้วยการถามถึงความรู้สึก
   4.ทวนคำบางคำของผู้พูด
   5.สงบนิ่ง  ควบคุมอารมณ์ได้  พยายามทำใจตามความคิดของผู้พูด  อย่าไปด่วนสรุปก่อน
   6.ตอบรับเป็นครั้งคราวด้วยการพยักหน้าหรือยิ้ม
   7.ตั้งใจฟัง นักฟังที่ดีต้องอดทนฟัง ปล่อยให้เขาเล่าเรื่องให้จนจบ ถ้าสำคัญอัดเทป  ถ่ายวีดีโอ ยิ่งดี
   8.ไม่ขัดจังหวะ
   9.อยู่ในประเด็นจนกระทั่งผู้พูดพูดจบหรือสิ้นสุดความคิด
การใช้ภาษาสมอง เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ คนจะแสดงออกท่าทางตามจิตใต้สำนึก
   1.เคลื่อนไหวร่างกายเข้าจังหวะและควบคู่กันกับผู้ถูกสัมภาษณ์ซักถาม  เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความตกลงภายในจิตใต้สำนึก
   2.ใช้น้ำเสียง ความดัง จังหวะความเร็วของการพูดให้เข้ากันกับผู้ถูกสัมภาษณ์ซักถาม
เพื่อสร้างความเชื่อถือ  และไมตรีจิต
   3.มีอารมณ์ร่วมเพื่อแสดงให้เห็นว่าเข้าใจ
      - ทำท่าทางตามผู้พูด ใช้น้ำเสียง ลักษณะเหมือนผู้พูด จะทำให้ผู้พูดรู้สึกว่าเรา
เป็นเพื่อน  และจะยอมพูดความจริงกับผู้ฟัง  เกิดความเชื่อถือ  ไว้ใจ  ผูกพัน
      - ทดลองเลียนแบบบุคลิกภาพ ถ้าเราทำตามผู้พูดตลอด   แล้วลองเปลี่ยนทำท่าทางนำ  ถ้าผู้พูดทำตาม  แสดงว่าเรา  Control  เขาได้แล้ว  ลองซักถามเลย
การสื่อระหว่างบุคคล
   1.คำพูด                 7%
2.ไม่ใช่คำพูด           93%
                 - การเคลื่อนไหวร่างกาย   55%
    - น้ำเสียง         38%


การสื่อด้วยคำพูด



   (ถ้าอยากรู้  ลองอัดเทป  กรณีที่เราโกหก)

อาการทางพฤติกรรมแสดงออกทางร่างกาย


คนนั่งไขว้ขา กอดอก จะเป็นพวกคิดก่อนตอบ เป็นท่าทางป้องกันตนเองของมนุษย์ จะไม่พูดเรื่องเข้าตัว คนนั้นจะไม่ไว้วางใจเรา ไม่จริงใจ
ผู้หญิงที่นั่งไขว้ขา หรือหันข้างหรือมือเสยผม จะคิดว่าเราจีบเขา
อาการแสดงออกทางสายตา (Eye - Contact)
- หลบสายตา (ต่ำกว่า 40% ของการพูด)
- มองแบบเย็นชา
- เหนื่อยหน่าย ไม่แสดงความรู้สึก ไม่แสดงออกว่าเข้าใจ
- ไม่หลบตา และไม่จ้องเกินไป
- เปิดกว้าง
- ตั้งใจ ใส่ใจ
อาการทางพฤติกรรมแสดงออกทางการแต่งตั้ง
เพื่อลดความเครียด ความกังวล
- ดูมือ บิดมือ
- คุ้ยแคะ แกะเกา
- ลูบจมูก หู เสยผม
- เลียริมฝีปาก กลืนน้ำลาย
- กระแอมกระไอ ถอนใจ หาว
- เหงื่อออก ร้องไห้
- เคี้ยวหมากฝรั่ง กัดเล็บ
- จัดเสื้อผ้า
- ดึงด้าย เศษผ้า ปัดฝุ่น
- สำรวจนิ้วมือ เล็บ
ข้อจำกัดและข้อยกเว้นของอาการทางพฤติกรรม ใช้ไม่ได้กับคนที่
- สติปัญญา ของผู้ต้องหาหรือผู้ต้องสงสัย ฉลาดมากหรือโง่จนเกินไป
- ผู้มีอาการทางจิต หรืออารมณ์รุนแรง
- เด็กหรือเยาวชน ที่ขาดพัฒนาการในด้านความรับผิดชอบทางสังคม หรือขาดความกลัวผลลัทธ์ที่เกิดจากการกระทำผิด
- ตัวแปรทางวัฒนธรรม คือ บ้าอำนาจ บ้าลัทธิ บ้าศาสนารุนแรง
- สุรา ยาเสพติด
ท่าทางผิดปกติ คือ ท่าทางที่เกิดจากกลไกของสมอง 2 อย่างคือ
การจับพิรุธหรือจับเท็จ (Detection of Deception)
- สร้างความสัมพันธ์ ไมตรีจิต
- สังเกตอาการทางพฤติกรรมขณะที่พูดความจริง
-จับตาดูความเปลี่ยนแปลงของอาการทางพฤติกรรมขณะที่พูดเข้าประเด็นสำคัญ หรือตามคำถามสำคัญ (Key Questions)
- อย่าด่วนสรุปจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการเปลี่ยนแปลงอาการทางพฤติกรรมขณะที่พูด
เข้าประเด็นสำคัญ หรือถามคำถามสำคัญจริง
- การเปลี่ยนแปลงอาการทางพฤติกรรม ควรมีจำนวนมากพอ มิใช่เปลี่ยนแปลงเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
การเปรียบเทียบระหว่าง Interviewing กับ Intergation
Interviewing Intergation
- ผู้เสียหาย พยาน - ผู้ต้องหา ผู้ต้องสงสัย
- ไม่ต้องแจ้งสิทธิ์ - ต้องแจ้งสิทธิ์
- ข้อมูลไม่เจาะจง - ข้อมูลเจาะจง
- เรียกร้องน้อยกว่า - เรียกร้องมากกว่า
- ไม่เคร่งครัด - เคร่งครัด
- ซักถาม ณ ที่ทำการ หรือในสนาม - ซักถาม ณ ที่ทำการ
- เต็มใจพูด - ไม่เต็มใจพูด
โครงสร้างของการสัมภาษณ์ซักถาม (Structure of the Interviewing)
1. เตรียมการล่วงหน้า
2. แนะนำตัว อารัมภบท ใช้ภาษาที่คิดว่าเป็นพวกเดียวกัน
3. สร้างความสัมพันธ์ ไมตรีจิต ทำลายสิ่งกีดกั้นทางอารมณ์ พูดให้ดูลักษณะคน ใช้สรรพนามแทนกันให้เหมาะสม
4. ตั้งคำถาม ให้เขาเสียก่อน พอจบก็ถามสิ่งที่อยากรู้
5. ตรวจสอบ ขยายความข้อที่สงสัย ใช้วิธีช็อตโน๊ตสั้น ๆ อย่าใช้จด คนจะคิดว่าเราไม่สนใจฟัง
6. ถามให้ครบถ้วน
7. บอกลา ให้ชื่อที่อยู่ที่ติดต่อเรา ติดต่อเขา
8. วิจารณ์ การอัดวีดีโอไว้แล้วมาฉายดู วิจารณ์ตนเอง
การคุยกับผู้ต้องหา ต้องสืบหาความในใจให้ได้ก่อน แล้วพูดเป็นพวกกับผู้ต้องหาแล้วผู้ต้องหาจะยอมคุยกับเรา เป็นพวกเรา
สิ่งที่สำคัญที่สุดเรื่องในใจคน คือ เค้นเอาความในใจเขามาให้ได้ แล้วตอบสนองตามนั้น คนจะเป็นพวกเรา
- ต้องให้เขาก่อน แล้วถึงจะได้
- ต้องขจัดความกังวลเขาก่อน ถึงจะคุยกันรู้เรื่อง
การเตรียมการล่วงหน้า (Preparation)
1.ข้อเท็จจริง
- คดี
- ภูมิหลังของผู้ถูกสัมภาษณ์ซักถาม
- กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
2.ห้วงเวลา วิเคราะห์ว่าจะสอบสวนเวลาใด แล้วแต่ว่าสถานการณ์ใด พยานจะให้การได้ดีกว่ากัน
- หลังเกิดเหตุสด ๆ
- หลังเกิดเหตุผ่านมานานแล้ว
3.สถานที่
- สถานที่ฝ่ายเรา ควบคุมบังคับได้ดีกว่า
- สถานที่ฝ่ายตรงข้าม ผ่อนคลายมากกว่า และได้มุมมองจากด้านใน แต่อาจมีภัยคุกคาม
- สถานที่เป็นกลาง บางครั้งภัยคุกคามจะน้อยที่สุด
4.แผนการ ใครเป็นผู้สัมภาษณ์ซักถามกี่คน อาจมีการซักถามพยานคู่ เพื่อดูว่าใครพูดจริง พูดเท็จ
แนะนำตัว อารัมภบท
1.ชื่อ ตำแหน่ง
2.น้ำเสียง
สร้างสัมพันธ์ไมตรี
ลดความกังวลใจ
ตั้งคำถาม
1.คำถามปลายเหตุ ไม่ถามนำ ตามด้วยการฟัง
2.ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม อย่างไร
3.ถามเพื่อให้นึกได้
- สร้างสภาพแวดล้อม หาสิ่งเปรียบเทียบให้เขา เพื่อให้เขาคิดอยากได้ คิดถึงสิ่งที่ลืมได้ (สร้างแกน)
- บอกรายละเอียดทุกเรื่อง ทั้งที่สำคัญและไม่สำคัญ
- เปลี่ยนแปลงลำดับเหตุการณ์ เริ่มจากสิ่งที่จำได้ชัดเจนที่สุด
- เปลี่ยนมุมมอง
ตรวจสอบ ขยายข้อความที่สงสัย
- สร้างความเข้าใจที่ตรงกัน (ถามเน้นย้ำจุดที่คลุมเครือ ให้ตอบชัดเจนตรงกัน)
- เป็นโอกาสในการจดบันทึก
- ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ซักถามนึกทบทวน
การขยายความต้องเข้าใจมุมมองของผู้ที่พูดด้วยว่าเป็นอย่างไร เพราะต่างมุมมองนี้ต่างความเข้าใจที่ตรงกันในสิ่งของเดียวกัน
ถามให้ครบถ้วน
- คำถามเชิงสร้างสรรค์ "มีอะไรที่ผมลืมถามบ้างหรือเปล่า"
- คำถามเชิงรุก "มีอะไรที่คุณยังไม่ยอมบอก"
ควรใช้คำถามเชิงสร้างสรรค์ให้มาก
บอกลา
- สร้างความประทับใจที่ดี
- เปิดโอกาสให้สามารถติดต่อกลับได้
วิจารณ์
- ถ่ายวีดีโอ
- ตรวจสอบตัวเอง
องค์ประกอบในการสอบปากคำ
ต้องมีหลักฐานมากพอเพื่อดำเนินคดี หากคิดว่าผู้ถูกซักถามโกหก ต้องหาพยานเพิ่มก่อนแล้วจึงเริ่ม (พยานชี้ตัวอย่างเดียวขึ้นศาลเปอร์เซ็นต์หลุดมีมาก จากสถิติ)
1.แจ้งข้อกล่าวหา
- แจ้งข้อหา
- แสดงข้อเท็จจริง เหตุผล พยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อให้เห็นว่าการปฏิเสธเป็นเรื่องที่ไร้ประโยชน์
- สังเกตปฏิกิริยาของผู้ต้องหาหากปฏิเสธก็ให้แสดงข้อเท็จจริงและพยาน หลักฐานซ้ำ หากนิ่งเฉยแสดงว่ามีแนวโน้มผิดจริง ถ้าโมโหมากแนวโน้มไม่ใช่
2.บอกปัดคำปฏิเสธ
- ขัดจังหวะและป้องกันความพยายามที่จะบอกปฏิเสธ
- คนกระทำผิด ความพยายามในการปฏิเสธจะลดลง และผู้บริสุทธิ์ปฏิเสธมากขึ้น
- ไม่ให้พูดปฏิเสธบ่อยมากขึ้น
3.หาเหตุผลให้รับสารภาพ
- บอกผู้ต้องหาว่าทำไมเขาต้องก่ออาชญากรรม โดยใช้หลัก PRMs
Rationaliye หาเหตุผลเข้าข้างตนเอง
Project โทษผู้อื่น
Minimize ทำให้เป็นเรื่องเล็ก
- ให้เหตุผลที่ยอมรับได้กับผู้ต้องหาในการพูดความจริง
- อดทน ยืนหยัด ปลอดประโลม เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ
4.เบี่ยงเบนข้อประท้วง
- โดยทั่วไปผู้กระทำผิดจะประท้วง เชื่อการปฏิเสธใช้ไม่ได้ผล
- ข้อประท้วงมักมีพื้นฐานจากความจริง ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องโต้แย้งหรือหักล้าง
- นำข้อประท้วงมาปรับรวมเข้ากับเหตุผลเพื่อให้รับสารภาพ (อย่าไปสนใจ วนกลับไปข้อ 3 ข้างบน)
5.ป้องกันการคิดถอนตัว
- การคิดถอนตัวมักเกิดขึ้นหลังจากที่การปฏิเสธหรือการประท้วงไม่ได้ผล
- ขยับเข้าใกล้ บังคับให้ผู้ต้องหาฟัง
- แสดงความจริงใจ
6.เฝ้าดูอาการแสดงการยอมรับ
- โดยมากแล้วเป็นอาการที่แสดงออกตามธรรมชาติ
- สรุปข้อเหตุผลเพื่อให้รับสารภาพ
7.เสนอทางเลือก ดี/เลว
- ทางเลือกดี เป็นทางเลือกที่ยอมรับได้ ประกอบกับเหตุผลเพื่อให้รับสารภาพ
- ทางเลือกเลว เป็นทางเลือกที่โดยธรรมชาติไม่สามรถจะรับได้
- คนทั่วไปจะเลือกทางเลือกดี ให้สังเกตอาการยอมรับ เช่น การพยักหน้า
- หากยอมรับทางเลือกที่ดี ก็ให้รับสารภาพ
- หากไม่ยอมรับสารภาพ ให้เริ่มกระบวนการใหม่
การวิเคราะห์คำพูดหรือคำให้การ
เอามาจากการถอดเทปที่ยึดไว้ แล้ววิเคราะห์ว่าน่าเชื่อถือหรือเลอะเทอะ
- ขาดความมั่นใจในคำพูด เช่น คำว่าบางครั้ง บางครั้ง น่าจะ May be
ทั้งหลายชัดเรื่อย ๆ
- เรื่องเลอะเทอะที่ไม่อยากรู้
- จุดที่ไวยากรณ์ Tense ผิด
- การแทนนามของผู้พูดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนที่แสดงออก
- การเปลี่ยนแปลงคำเรียกหาบุคคลอื่น
- การแก้ไขคำพูด
- เปอร์เซ็นต์ระหว่างช่วงเวลาที่ให้ Balance กัน
- คนพูดจริง จะพูดช่วงก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ หลังเกิดเหตุ ในสัดส่วนที่
เท่า ๆ กัน ถ้าไม่ Balance กัน มีแนวโน้มปกปิดข้อเท็จจริงและเลอะเทอะ
ถ้าพูดให้การใดเข้าข้อข้างต้น จะขีดด้วยสี 1 สี แล้วนำมาวิเคราะห์ว่ามีสีใดมีมากเกินไป แสดงว่าเลอะเทอะ



   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น