วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการสืบสวน พล.ต.ต.คงเดช ชูศรี

วิธีการสืบสวน
การตรวจและรักษาสถานที่เกิดเหตุ / การตั้งประเด็นการสืบสวน
พล.ต.ต.คงเดช  ชูศรี  
   งานสืบสวน  คือ การแสวงหาข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน    คนที่จะเป็นนักสืบควรผ่านงานพื้นที่มาก่อนแล้ว และผ่านงานสอบสวนมาด้วย จึงจะเป็นนักสืบที่ดีได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
   1.ให้รู้เรื่อง  ทราบถึงเรื่องราว ความเป็นมาก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ
   2.ให้รู้ตัว   ว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด
   3.รู้วิธีการกระทำผิด
   4.รู้ว่า  สิ่งของที่ได้มา ได้ใช้หรือมีไว้ ของกลาง อาวุธ ยานพาหนะ ทรัพย์สิน เอกสารนั้นอยู่ไหน
   เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานไว้ในสำนวนการสอบสวนดำเนินคดี ติดตามจับกุมตัวผู้กระทำผิด หาของกลางคืนเจ้าทรัพย์
   เทคนิคและวิธีการสืบสวน  
1.การสัมภาษณ์และการซักถาม  
2.การใช้เครื่องมือจับเท็จ  
3. การตรวจสถานที่เกิดเหตุ  
4.การตรวจสอบจากแผนประทุษกรรม  
5.การหาข่าวจากประชาชนข้างเคียง  
6.การเยี่ยมเยียนสอบถามผู้เสียหายเพิ่มเติม      
7.การค้นหาข่าวและรายละเอียดจากแหล่งข้อมูลทั่วไป       
8.การตั้งประเด็นในการสืบสวนสอบสวน  
9.การใช้สายลับ  
10.การเฝ้าจุด (นั่งโป่ง)  และการสะกดรอย  
11.การดูลาดเลา  
ที่เกิดเหตุต้องไปหลาย ๆ ครั้ง  และพูดคุยหาพยานหลาย ๆ คน  หลากหลายกัน  และต้องฟังมากกว่าพูด  อย่าพูดชี้นำพยานก่อน
   การสืบสวนคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย (สืบง่าย จับยาก)
1.   ประเด็นการสังหาร (ธุรกิจส่วนตัว ชู้สาว ล้างแค้นส่วนตัว ล้างหนี้พนัน )
2.   กลุ่มมือปืนรับจ้างรับงาน ต้องรู้ให้ได้ว่ากลุ่มใดเป็นผู้ลงมือ 
ปัญหาคือ  พยานไม่กล้ายืนยัน หรือไม่มีพยาน คนร้ายจะหลบหนีและข่มขู่พยาน หรือซื้อตัวพยาน โดยมีคนรับดำเนินการให้พยานไม่มาศาล หรือกลับคำให้การ เป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง
การสืบสวนคดีเกี่ยวกับทรัพย์
1.   ของเดิมที่มีอยู่ กลับหายไป มีทรัพย์ถูกโจรกรรม
2.   ของที่มันมีเพิ่มขึ้นมา เช่น หยดเลือด กระจกร้าว รอยเท้า ร่องรอยต่างๆ นำไปสุ่การพิสูจน์  ยืนยัน  รอยนิ้วมือ นิ้วเท้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น