วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการสืบสวน ซักถาม อ.วัลลี ธรรมโกสิทธิ์

จิตวิทยาการซักถาม
อ.วัลลี ธรรมโกสิทธิ์
การซักถาม พยาน หรือ ผู้ต้องหา สิ่งที่เราต้องการที่ได้จากกการซักถาม
1. ข้อเท็จจริงแห่งคดีที่เกิดขึ้น ซึ่งการซักถามพยานบุคคลมุ่งเน้นเพื่อจะทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร
2. ความคิด ของผู้ต้องหา หรือพยาน ซึ่งในกรณีผู้ต้องหาการซักถามของเจ้าหน้าที่จิตแพทย์ ทำให้ทราบว่าผู้ต้องหาดังกล่าวมีสภาพจิตใจเป็นอย่างไร เพราะเกี่ยวเนื่องกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 ซึ่งเป็นกรณียกเว้นโทษสำหรับผู้กระทำความผิดที่มีสภาพจิตไม่สมบูรณ์ ทำให้เราทราบว่าขณะที่กระทำความผิดนั้นคนร้ายคิดอย่างไร เช่น กรณีที่คนร้ายให้การว่าขณะที่เกิดเหตุมีเสียงคล้ายกับเสียงสั่งการมาให้กระทำความผิดซึ่งจะเห็นได้ว่าเข้ากรณีวิกลจริต หรือสภาพจิตใจไม่ปกติ
3. แรงจูงใจ หรือ วัตถุประสงค์
การซักถามนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ คือ ตัวเรา และ ตัวเขา ( พยาน หรือ ผู้ต้องหา ) โดยเราจะต้องเข้าใจสภาพของตัวเข้าก่อน แล้วจึงปรับสภาพตัวเราให้เข้ากันได้
คุณสมบัติของตำรวจที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องการดังต่อไปนี้คือ
1 ความซื่อสัตย์ในงาน
2 ความรู้สำนึกในหน้าที่ และความรับผิดชอบ
3 ความอดทน ภายใต้ความกดดันต่างๆ และแกร่งสำหรับสถานการณ์ที่จำเป็น
4 ความก้าวร้าวอย่างมีเหตุผล ซึ่งจะขาดเหตุผลไม่ได้
5 สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี
• สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของการซักถามของตำรวจ คือ ตำรวจจะคิดเอาเองว่าเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนั้น ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการซักถาม และเกิดอคติ ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งจะไม่ยืดหยุ่น เพราะฉะนั้น ตำรวจจะต้องพยายามปรับตัวเองให้ได้
• สิ่งที่ตำรวจขาดอีกอย่างหนึ่ง คือ ทักษะของการสื่อสาร ( Communication Skills ) คือ การแบ่งแยกทักษะในการสื่อสาร เช่น พยานเป็นเด็กจะปฏิบัติอย่างไร , เป็นผู้หญิงจะปฏิบัติอย่างไร , ผู้ต้องห่าควรปฏิบัติอย่างไร ซึ่งทักษะการสื่อสารที่สำคัญคือ การซักถามพยานและ ผู้ต้องหา โดยมีหลักเบื้องค้นดังต่อไปนี้คือ
การนั่ง ถ้าเป็นผู้ต้องหา ควรจะต้องนำเก้าอี้มานั่งเสมอกัน และนั่งหันหน้าเข้าหากัน หรือ ถ้าเป็นผู้หญิงจะต้องหันข้างเข้าหากัน เพื่อลดความกดดัน
นั่งซักถามผู้ต้องหานั่งเสมอหันหน้าเข้าหากัน นั่งซักถามพยานหันด้านข้างเข้าหากัน
คนที่สามารถตรวจสอบได้ว่าใครพูดจริงทั้งหมด หรือโกหก
ป้องกันทุจริต ต้องใช้นิติจิตวิทยาคลินิก ซึ่งจะมีแบบทดสอบจิตวิทยา Unconcious ซึ่งซ่อนอยู่ภายใต้จิตได้สำนึกมาเพื่อตรวจสอบ ซึ่งนักจิตวิทยาจะรู้ว่าคน ๆ นี้มีพื้นฐานภูมิหลังอย่างไร จะมีพื้นฐานอารมณ์ สติปัญหาเป็นอย่างไร
การดูคนไข้ในโรงพยาบาลนิติจิตเวช จะต้องใช้เวลาดู 3 - 4 เดือนขึ้นไป จนแน่ใจ จึงจะตอบกลับไปว่า คน ๆ นั้นบ้าหรือไม่บ้า (การดูคนไข้ 1 คน ดู 45 วัน เป็นอย่างน้อย)
ถ้าตำรวจสามารถจำแนกประเภทของบุคคลได้ จะง่ายต่อการสืบสวนสอบสวน เช่น
คนอันธพาล
- ส่วนใหญ่จะฉลาด แต่ใช้ในทางที่ผิด
- จะไม่มีความรู้สึกว่าสิ่งที่ทำนั้นผิด จะไม่มีความเศร้า ไม่มีความรู้สึกผิดกับการกระทำที่ตนทำอยู่
-ไม่ไว้ใจใคร
ดังนั้น การที่จะให้คนอันธพาลร่วมมือในการสอบปากคำ สืบสวน จะต้องสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันอย่างไร
- พวกนี้เป็นพวก Payeopath สร้างกลไกป้องกันตนเอง แล้วโทษคนอื่นตลอด และ
พวกนี้มักจะชอบสร้าง Gang มีพรรคพวกมาก ๆ
ดังนั้น การจะเป็นนักสืบที่ดี คือ
1.รู้จักคน รู้ว่าคนคนนี้เป็นคนประเภทไหน ระบุประเภทของคนได้ รู้จิตวิทยา
ของบุคคลแต่ละคนด้วย ต้องรู้ว่าเวลาคนเข้ามาติดต่อประสานงานเราเป็นคนที่มี Personality และจิตวิทยาอย่างไร จะช่วยให้เรามองบุคคลนั้นโดยไม่มีอคติ และทัศนคติที่ไม่ดี การมีอคติจะทำให้เรามองด้านเดียว ดังนั้น ทัศนคติต้องเป็นกลาง ๆ แล้วมองจิตวิทยาของแต่ ละคน นักสืบต้องมองกลุ่มคนนั้น ๆ ที่จะสืบ โดยยอมรับในความเป็นคน ๆ นั้นของเขา เพราะว่าตามหลักจิตวิทยาความคิดจะโน้มน้าวพฤติกรรมคน เมื่อคิดลบความรู้สึกจะเป็นลบ เมื่อคิดบวกความรู้สึกจะเป็นบวก
2.รู้จักฟัง
- ต้องฟังให้เป็น การเป็นนักฟังที่ดีต้องจ้องหน้า มองหน้าผู้พูดทั้งเจ้าทุกข์และ
ผู้ต้องหามีสิทธิโกหกได้ทุกคน ส่วนใหญ่ตำรวจฟังเพื่อเอาเรื่องราว แต่ไม่ได้ฟังถึงอารมณ์ของผู้พูด ไม่ได้ฟังความรู้สึกของผู้พูด
- คนในแต่ละพื้นที่ ถ้าเราพูดภาษาเขาได้ แสดงออกเหมือน ๆ เขาจะได้ใจ กลุ่มเขา
- การจะรู้จักคนต้องรู้วิถีชีวิตเขา เข้าไปสู่วิถีชีวิตเขาได้
การเป็นนักสืบที่ดีต้องฟังเรื่องราวข้อเท็จจริง ฟังอารมณ์ เรื่องราวของอารมณ์ เปรียบเสมือนก้อนโดนัท
อารมณ์
เรื่องราว
การรู้จักฟังต้องเห็นอารมณ์เขา ตามอารมณ์เขาได้ พูดเข้ากับอารมณ์โดยเน้น
- ฟังด้วยตา รู้สภาพอารมณ์ ความรู้สึก ต้องช่างสังเกต
- ฟังด้วยหู
- ฟังด้วยใจ
การฟังด้วยตา การสังเกตลักษณะท่าทางตั้งแต่หัวจรดเท้า การดูท่าทาง เช่น ขบกราม (เป็นการควบคุมอารมณ์ภายในไม่ให้แสดงออกมา เป็นการเก็บกดอย่างมาก) การกลั้นลูกกระเดือก
การสังเกตท่าทางจะได้อารมณ์ที่เชื่อมโยงอะไรต่าง ๆได้
การสังเกตนี้สำคัญที่สุด ถ้าจะฟังแล้วทำให้ผู้ฟังรู้สึกเห็นใจเขา ใช้เทคนิคดังนี้
เทคนิค Empathic Listening skill (ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ)
การแสดงความเห็นอกเห็นใจ จะได้มาซึ่งข้อเท็จจริง คือ LADDER
Look มอง ประสานสายตาบ้าง สังเกตมองภาษากายบ้าง น่าถามถึงใคร
คนฟังเกิดอาการสะดุด ตรึกไว้
Ask ต้องถามบ้าง จะทำให้ผู้พูดรู้สึกว่าเราใส่ใจเขา น่าจะถามเรื่องความรู้สึกก่อนที่จะเข้าประเด็นของปัญหา เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์ต้องการให้ความรู้สึกก่อนทุกคน ทุกคนต้องการเพื่อน
รับรู้ความรู้สึกอย่าเข้าประเด็นก่อนเด็ดขาด คำพูดถาม-ตอบความรู้สึกของเขาเป็นประโยชน์ทั้งนั้น
Don’t interrupt เวลาเขาตอบอย่าไปพูดตัดบท หรือถามแทรกเขาเวลาเขาพูด ถ้า
อยากพูดกันให้เกิดสัมพันธภาพ อย่าไปพูดแทรกแซงเขา เราต้องฟังเพื่อสร้างสัมพันธภาพ และเพื่อสังเกตท่าทาง การพูดแทรกเข้าไปจะก่อให้เกิด Noise หรือ Psycological Noise เกิดอาการด่วนสรุปผิด ๆ ทำให้เขาไม่ยอมเปิดเผยหรือพูดให้หมด เราก็จะ สรุปผิด
Don’t Change the Subject ไม่เปลี่ยนเรื่องราวไปพูดเรื่องอื่น เรื่องจะไม่จบ
Emotion การฟังเขาต้องมีการแสดงออกทางอารมณ์ของคนไปตามอารมณ์เขา
โดยการนิ่งมาก ๆ อย่าไปขัด แต่ในบางกรณีก็ต้องแสดงอารมณ์
เห็นอกเห็นใจ
Response การตอบสนอง
สรุป Emphatic Listening Skills เหมาะกับคดีทางเพศและทารุณกรรมเด็กมากโดยเฉพาะคดีทุกข์ ๆ เศร้า ๆ ต้องแสดงอารมณ์เศร้า เห็นใจตามเขา เขาจะรู้ว่าเราเห็นใจ
3.รู้จักพูด โดยธรรมชาติของคน ถ้าเราถามเขา เขาจะปฏิเสธก่อน การรู้จักทางจิตวิทยามีวิชาอยู่ 1 วิชา เสนอโดย Alizabeth Kuber Ross ที่ศึกษาอารมณ์ของคนเวลาเกิดอารมณ์ซึมเศร้า ทุกข์ใจ หรือตกใจ จะเกิดภาวะ 5 สภาวะตามแผนภาพด้านล่าง
ระยะโกรธ
อารมณ์รุนแรง
ปกติ ระยะต่อรอง ยอมรับ
Chock
ปฏิเสธ ซึมเศร้า
(อารมณ์ การรับรู้)
ระยะแรก ปกติ ปฏิเสธ โกรธ ต่อรอง ซึมเศร้า ยอมรับ
ระยะที่ 2 เมื่อถูกจับ จะเกิดการปกป้องทางจิต คือการปฏิเสธ
ระยะที่ 3 เมื่อปฏิเสธจะมีการโต้ตอบ โต้เถียง เกิดอารมณ์
ระยะที่ 4 เมื่อไม่เถียง เราต้องพูดถึงพยานหลักฐานที่จะมัดตัว ในสภาพอารมณ์
ตอนนั้นทางจิตใจเริ่มต้น เริ่มมีเหตุผลแล้ว ในใจเขาจะต่อรองต่าง ๆ
เราต้องต่อรองกับเขา
ระยะที่ 5 เมื่อเขารู้ว่าเขาผิด เขาจะเริ่มซึมเศร้าให้เห็นชัดเจน
ระยะที่ 6 จะยอมรับและสารภาพ
การสร้างสภาวะจากระยะปฏิเสธไปถึงยอมรับ เราใช้การพูดทางจิตวิทยา โดยใช้หลักการถาม พูด แบบแสดงความเห็นอกเห็นใจเขา เขาจะพูดออกมาเรื่อย ๆ
การส่งตัวผู้ต้องหาไป รพ.นิติจิตเวช เพื่อพิสูจน์ว่าบ้าหรือไม่บ้า
1.มีหนังสือส่งตัว
2.ทำหนังสืออายัดตัวที่ สน.ศาลาแดง
3.จัดทีมจิตเวชเพิ่ม 1 คน
- จิตแพทย์ ตรวจสภาพตัวเอง
- นักจิตวิทยา ตรวจ I.Q. ตรวจอาการทางสมอง ตรวจจิตวิทยาคลินิก
- นัก PSW นักสังคมสงเคราะห์
- นัก O.T. อาชีวบำบัด ต้องมีกิจกรรมทำเพื่อรักษา ใช้กิจกรรมเป็นสื่อรักษา
- พยาบาลจิตเวช
เมื่อนักจิตเวชทั้ง 5 คน ได้รายงานแล้วจะมาเข้า Conference แล้ววิเคราะห์ วินิจฉัยกันทาง
- Clinical Dx คือ วิเคราะห์ว่าเป็นโรคทางจิตเวชหรือไม่
- Ligocal Dx คือ วิเคราะห์ว่าการกระทำขณะกระทำผิดเป็นโรคจิตเวชหรือไม่
บันไดแห่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
หลักแห่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
1.พฤติกรรมปกติ
2.ความเห็นอกเห็นใจ
3.ความร่วมมือ
4.ศรัทธา ไว้ใจ เชื่อใจ
5.การเปลี่ยนแปลง
ซึ่งทั้ง 5 ขั้นนี้ จะต้องใช้เทคนิคดังนี้
- การถาม
- การทวนความ
- การแสดงความเห็นอกเห็นใจ
- การสรุปความ
- การฟัง
6.เสนอทางเลือก
- เราจะใช้เทคนิคอย่างไรที่จะทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
- ในขั้นที่ 3 ความร่วมมือ เทคนิคในการสร้างสัมพันธภาพ เรียกว่า SOLER
S = Square - การนั่งพูดคุยกัน ถ้าเป็นพยานหรือคนที่ต้องการ
สร้างสัมพันธภาพ เราต้องนั่งในลักษณะ Square
คือ นั่งเฉียง
-ผู้ต้องสงสัย จะเน้นการนั่งตรง ๆ ไม่มีสิ่งกั้น เพื่อ
จะสังเกตท่าทางผู้ต้องสงสัย
O = Open - จิตใจ
L = Learning - มีลักษณะท่าทางภาษากาย โน้มตัวเข้าหา
E = Eye Contact - มองตา สบตา
R = Relase - แสดงอาการที่สบาย
ในการสร้างความร่วมมือในการซักถาม เราต้องสร้างสัมพันธภาพทางจิตวิทยา
(จะรู้สึกดุ) การพูดคุยกันในสังคม รู้จักกัน เราเรียกสัมพันธภาพทางสังคม ดังนั้น การจะสร้างให้เกิดความร่วมมือในขั้น Repport เพื่อล้วงความในใจเขา ต้องมีเทคนิค
การสร้างสัมพันธภาพเชิงจิตวิทยา (เชิงบำบัด) อาศัยเทคนิคดังนี้
1.การถาม
2.ทวนความ
3.การแสดงความเห็นอกเห็นใจ
4.สรุปความ
5.ฟัง
6.เสนอทางเลือก
ก่อนเริ่มซักถาม
- ต้องทราบข้อมูลประวัติของผู้ถูกซักถามก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าเขาเป็นคนประเภทใด
จะได้เตรียมตัวก่อนซักถามได้ถูกต้องกับบุคลิกภาพของแต่ละคน
- การเข้าสู่คนร้ายแต่ละประเภทไม่เหมือนกันแต่มีหลักเทคนิคเรื่องนี้ได้เหมือนกัน
เทคนิค
1.เทคนิคในการซักถาม
1.1 ควรมีห้องสอบปากคำเฉพาะจะดีมาก
- ควรมีห้องส่วนตัว ไม่มีรูปภาพ มีประตูเข้าออกทางเดียว ไม่ควรมีสิ่งของใดอยู่บนโต๊ะ ซึ่งจะช่วยไม่ให้เกิดการเบี่ยงเบนความสนใจของเขา
- ไม่ควรมีดินสอ ปากกา อยู่บนโต๊ะ เพราะเขาจะจับมาเขียน การเขียนจะช่วยให้เขาผ่อนคลาย และจะไม่ถูกกดดัน เราจะเค้นไม่ได้
1.2 คนในห้องควรมี 1 ต่อ 1 ไม่ควรเกิน 2 คน
1.3 กรณีเพศหญิง ควรให้ผู้หญิงถาม ถ้าไม่มีก็ให้ผู้ชายโดยเลือกคนที่มีบุคลิกภาพดีที่น่าเกรงขาม น่าเชื่อถือ
1.4 จำนวนผู้สอบสวน 2 คน ไม่ควรเกิน 2 คน
ในเรื่องความรู้สึกก่อน เริ่มต้นการซักถามโดยวิธีการ small talk เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างเรากับเขา โดยการถามชื่อ ที่อยู่ การงาน แนะนำตัวหรืออะไรก็ได้ที่ไม่เจาะจงในเรื่องคดี ในเรื่องที่ไม่ต้องคิด
เทคนิคการถาม โดยสื่อให้คนพูดทราบว่าเราสนใจสิ่งที่เขาพูด
การถาม เริ่มต้นด้วยการถาม การถามมี 2 แบบ คือ คำถามเปิดกับคำถามปิด
ควรเริ่มต้นด้วยการถามด้วยคำถามเปิด (ไม่เฉพาะคำตอบสั้น ๆ) ไม่ควรใช้คำถามปิด (คำถามที่มีคำตอบเฉพาะเจาะจง, ใช่หรือไม่)
- คำถามเปิด เวลาคนตอบ เราจะได้ทั้งเรื่องราวและความรู้สึกขณะที่เขาตอบ
- คำถามปิด จะขึ้นต้นด้วย "อะไร อย่างไร รู้สึก… ฯลฯ"
- ขณะที่เขาเล่าเรื่อง ให้ฟังด้วยหู และสังเกตด้วยตา
- ควรใช้คำถามเปิด ในการเปิดประเด็นคำถาม
- การใช้คำถามปิด เมื่อรู้ข้อเท็จจริงมาชัดเจนแล้ว
- คำถามที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "ทำไม" เปลี่ยนไปใช้คำว่า "เพราะอะไร" คำถามที่ขึ้นต้นด้วย "ทำไม" ผู้ฟังจะรู้สึกเหมือนถูกตอกย้ำ มีลักษณะเหมือนมีการตำหนิ มีทัศนคติทางลบ
2.เทคนิคในการทวนความ
- เป็นสื่อในการให้ผู้พูดทราบว่าเราเข้าใจสิ่งที่เขาพูดว่าอย่างไร
- การทวนความก็คือ การจับประโยคสุดท้ายของคำพูด แล้วถามกลับเขาไป
- เป็นการบอกให้เขารู้ว่าเราตามฟังเขาอยู่ และเพื่อเปิดประเด็นไปสู่การเล่า
เรื่องเขาต่อไป
- เป็นการใช้ทักษะเพื่อให้ขยายความต่อ
3. เทคนิคการสะท้อนความรู้สึก
- คนที่ถูกนำตัวมาซักถาม มักมีความรู้สึกกลัว ระแวง โกรธ กังวล ตื่นเต้นไม่พอใจ
- เราจะได้รับรู้ความรู้สึกนั้นจากคนนั้น เราจะทำอย่างไรให้เขาคลายหรือลดความรู้สึกข้างต้นได้
- เราจะทำได้ ต้องใช้เทคนิคการสะท้อนความรู้สึก เรามองเขา ถ้าเห็นเขารู้สึก
อย่างไร ก็พูดให้เขาทราบว่าเรารู้ เราต้องจับความรู้สึกของคนให้ได้ โดยการสังเกตจากสีหน้าท่าทาง สังเกตจากคำพูดของเขา
- ถ้าเราจับความรู้สึกเขาได้ วิธีสะท้อนความรู้สึกก็คือ พูดถึงถามเขาว่า รู้สึกอย่างนั้นใช่ไหม เทคนิคนี้สำคัญ เหมาะกับผู้ใต้บังคับบัญชาหรือใช้ในการซักถาม
- การสะท้อนความรู้สึก ไม่ได้ทำให้ความรู้สึกหาย แต่ทำให้เกิด Self awarmess (เกาะรู้สึกตัว) เมื่อคนเรากระจ่างในอารมณ์ของตัวเอง จะกระจ่างในความคิดต่อมา จะมีสติ จะเข้าใจปัญหาของตนเองยิ่งขึ้น
ดังนั้น เมื่อเราสะท้อนความรู้สึกไป คนนั้นจะเริ่มมีสติ รู้สึกตัว และจะเริ่มรับฟังคนอื่น
- การสะท้อนความรู้สึก อย่าสักแต่พูดว่า "ผมเข้าใจความรู้สึกคุณ" เราต้องจับให้ได้และพูดให้ตรงจุดด้วย
- การสะท้อนความรู้สึก ควรใช้ในตอนเริ่มแรกของการสนทนา เพื่อลดความเป็นอุปสรรค หรือสิ่งกีดขวาง หรือลดความผ่อนคลายระหว่างเขากับเรา หรือถ้าเราซักถามไปแล้วสังเกตเห็นความรู้สึกเขาเปลี่ยนแปลงอยู่ช่วงหนึ่ง ให้เราพูดสะท้อนความรู้สึกอีก เพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการถามผู้ถูกซักถาม
4.เทคนิคการให้กำลังใจ
- ให้กำลังใจ มี 2 อย่าง
- ในขณะเขาเล่า พูด เราต้องฟังความ ตา หู เราต้องแสดงท่ารับฟังด้วย เพื่อให้เขามีกำลังใจเล่าต่อ เช่น ครับ ครับ...รับทราบ อย่างไรครับ อึ้ม เป็นอย่างไรต่อ หรือพยักหน้าด้วย นั่นคือ การพูดเพื่อให้กำลังใจ หรือพยักหน้าเพื่อสื่อสารให้กำลังใจผู้พูด
- ไม่ใช่การถามคำตอบคำ เป็นเทคนิคง่าย ๆ ในการให้ถามเล่าต่อแบบสั้น ๆ
- เทคนิคการให้กำลังใจกับปลอบใจไม่เหมือนกัน การปลอบใจไม่ใช่การให้กำลังใจแต่การให้กำลังใจเป็นเชิงจิตวิทยา เป็นการทำให้เขาเข้าใจเรา ต้องหาจุดดีของเขาออกมาให้ได้แล้วชมเชย เป็นการให้กำลังใจเขาเพื่อให้เขาเกิดความรู้สึกร่วมมือ เป็นการให้กำลังใจเขาเชิงจิตวิทยา เพื่อให้เขายอมพูดแต่โดยดี อันเนื่องมาจากความเชื่อใจ ไว้ใจ ผู้ถาม จุดดีต่าง ๆ เช่น กตัญญู เรียนเก่ง ทำงานเก่ง เป็นต้น การพูดว่า "คุณเป็นคนเก่ง" แค่นี้ไม่ใช่การให้กำลังใจ เป็นแค่การชมเชยเท่านั้น
5. เทคนิคการเสนอทางเลือก
- คนที่ไม่กล้ารับสารภาพ เพราะกลัวติดคุก เขาไม่มีทางเลือกอื่นใดเลย เราต้องหาทางเลือกให้เขา ให้มีหลายทางเลือก เช่น สารภาพ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร หรือไม่สารภาพ มีข้อเสียอย่างไร
6.ทักษะการเงียบ
- เวลาเราคุยกับเพื่อน เวลาเราเงียบหรือเพื่อนเงียบ อีกคนจะคิดว่าเขาไม่เข้าใจที่พูดหรือไม่ เขาคิดอะไรในใจอยู่
- เทคนิคถ้าเขาเงียบ เราก็เงียบ เพื่อให้เขาสำรวจความคิดเขา ถ้าเขาเงียบไปนาน ๆ เราก็เงียบสักครู่ ถามต่อไปว่าที่คุณเงียบไป คุณคิดอะไรอยู่ ถ้าเขายังเงียบอยู่ อย่าเร่งรัดให้รีบพูดทันที
7.Stop Technic
- ถ้าเจอพยานที่พูดมาก พูดไม่หยุด เล่าเพ้อเจ้อ เราต้องพูดหยุดเขา อาจใช้การสรุปความ หรือสะท้อนความรู้สึก
8.เทคนิคการสรุปความ
- ถ้าเขาพูดเพ้อเจ้อไม่หยุด เมื่อเขาหยุดให้เราสรุปความตั้งแต่ต้น แล้วถามด้วยการพูดสะท้อนความรู้สึกเขา เพื่อตรวจสอบว่าเรากับเขาพูดเข้าใจตรงกันหรือไม่
- ควรสรุปประเด็นความเป็นช่วง ๆ เพื่อไม่ให้เขาพูดจ้อ ไร้สาระตั้งแต่ต้นจนจบ
ดูงานสนามบินสุวรรณภูมิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น