วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการสืบสวน พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์

เทคนิคการสืบสวน
พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์  ฉายาพันธุ์
              “งานสืบสวนเป็นการค้นหาความจริงภายใต้กติกาของกฏหมาย “
   ปรัชญาการสืบสวน คือ การค้นหาความจริง โดยไม่เบี่ยงเบน โดยวิธีใดๆ
ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้อยู่ในกรอบของกฏหมายจะมีผลตามมา
   1.เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาทุกคนจะเอาตัวรอด  ผู้ปฏิบัติจะได้รับความเดือดร้อน
   2.ในสายตาประชาชนเจ้าหน้าที่ตำรวจคือผู้ร้าย จะไม่ได้มวลชน
   3.เวรกรรมจะติดตามตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัตินอกกรอบของกฏหมาย
วิธีการสืบสวน  แนวทางวิเคราะห์
   1.  การตรวจสถานที่เกิดเหตุแบบบูรณาการณ์        ต้องมองให้สถานที่เกิดเหตุบอกเราได้ถึง
สภาพก่อนเกิดเหตุ     ขณะเกิดเหตุ      และหลังเกิดเหตุ
-  การตรวจสถานที่เกิดเหตุ จะต้องดูโดยภาพรวม ไม่แยกดูแต่ละส่วน    และจะต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในสถานที่เกิดเหตุเป็นอย่างไร ถึงจะนำไปสู่แนวทางการสืบสวน ซึ่งเรียกว่าที่เกิดเหตุพูดได้
-  ถ่ายภาพสถานที่เกิดเหตุ โดยจะต้องมีความรู้พอสมควร และจะต้องเก็บรายละเอียดในที่เกิดเหตุทั้งหมด
-  ปิดกั้นสถานที่เกิดเหตุ และไม่ทำลายสถานที่เกิดเหตุ  ถ่ายภาพสถานที่เกิดเหตุ – สเก็ตที่เกิดเหตุ และแช่แข็งที่เกิดเหตุ ( ปิดที่เกิดเหตุตรวจสอบและวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน )  เข้ามาอย่างไร – เกิดอะไรขึ้นขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุคนร้ายหลบหนีไปที่ใด
ลักษณะของคนร้ายแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1.   ฆาตรกร ( Murderer )
2.   ฆาตรกรต่อเนื่อง  ( Serial killer )
3.   ฆ่าเพื่อความบันเทิง ( Spree killer )
4.   ฆ่าคนจำนวนมาก  ( Mass murder )
2.   ภูมิศาสตร์ด้านอาชญากรรม      จะบอกทิศทางของคนร้ายว่ามาจากที่ใด  และเมื่อเกิดเหตุแล้วน่าจะหลบหนีไปที่ใด
3.  การวิเคราะห์พฤติกรรมของคนร้าย    ว่าคิดอย่างไร เพื่อหามูลเหตุจูงใจในการกระทำผิด
4.  การวิเคราะห์ข้อมูลในการสืบสวน วิเคราะห์ข่าว
5.   การอำพราง  คือการสร้างเรื่องเพื่อป้องกันงานด้านสืบสวน
การซักถามปากคำ ผู้กล่าวหา ผู้ต้องหา พยาน
   -เริ่มต้นจากการทำลายกำแพงความรู้สึกโดยการแสดงความเป็นพวกเดียวกับเขา  สร้างความคุ้นเคยต่อกัน
   -ตรวจสอบว่าความรู้สึกของเขาเป็นพวกเดียวกับเราหรือไว้ใจเราหรือยังให้ลองขยับตัวเข้าใกล้แต่ไม่ต้องสัมผัสตัวเขา  หากเขาไม่ถอยหนีแสดงว่าเขาเริ่มมีความไว้ใจเรา
   -ทำลายเกราะป้องกันของเขา โดยเฉพาะพวกที่เป็นบุคคลในเครื่องแบบเช่น ครู หมอ ให้เรียกดึงความรู้สึกเขาลงมาหาเราโดยใช้สรรพนามแทนตัวเขาว่า “คุณ”
   -เขาจะบอกความจริงแก่เราเมื่อเขาไว้ใจเรา


                                              ยาเสพติดช่อนอยู่ไหน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น