วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการสืบสวน พล.ต.ต.โกสินทร์ หินเธาว์

การดำเนินการภายหลังการสืบสวน : ยุทธวิธีการตรวจค้นและจับกุม
พล.ต.ต.โกสินทร์ หินเธาว์
การตรวจค้น
1.วัตถุประสงค์การตรวจค้น
1.1 เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานในคดี ที่มีการซ่อนเร้นไว้โดยธรรมชาติของคนร้าย (ซ่อนตัว และสิ่งของ)
- คนร้ายกระทำการเพื่อชีวิต เป็นแรงจูงใจของคนร้าย เช่น ซ่อนปืนที่ใช้ในการกระทำความผิด หรือกรณีเหตุการณ์ปล้นปืนของทางราชการภาคใต้ ปืนที่ได้มาซึ่งกระทำผิดนำไปซุกซ่อนเพื่อไม่ให้หาพบได้
- ขณะที่ตำรวจกระทำการเพื่อความหวัง เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ เกียรติยศ ศักดิ์ศรี ความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์เท่านั้น
แรงบันดาลใจในการตรวจค้น สิ่งที่ต้องพึงระลึกอยู่เสมอในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ 2 ประการ
1.“สิ่งที่มองไม่เห็น ไม่ได้หมายความว่าไม่มี” เช่น การตรวจสถานที่เกิดเหตุ เราต้องตรวจอย่างละเอียด บนโต๊ะหากมองตรง ๆ อาจมองไม่เห็นร่องรอยใด ๆ แต่หาก มองมุมเฉียงอาจพบลายนิ้วมือแฝงปรากฏอยู่ หรือตัวอย่างคดีห้างทอง เขาใช้น้ำยาทางเคมีและใช้แสงส่อง ตรวจสอบดูก็จะพบเห็นรอยคราบเลือดติดตามพรมและพื้นห้องที่เกิดเหตุ หรือร่องรอยฉีกขาดของเสื้อผ้าเส้นใยชนิดเดียวกัน และสามารถนำมาประติดประต่อกับเสื้อผ้าของคนร้ายได้อย่างแนบแน่น ก็เป็นพยานหลักฐานที่นักสืบสวนต้องละเอียดรอบคอบสำหรับการตรวจค้น
2.“สิ่งที่เห็น ไม่ได้หมายความว่าใช่” มีคดีหนึ่งมีบุคคลมาแจ้งว่า ตนเป็นผู้เสียหาย โดยมีคนร้ายยิงพี่ชายของตนถึงแก่ความตาย ต่อมาจากการสืบสวนการตรวจค้นเพื่อหาพยานหลักฐานเพื่อทราบว่าใครคือคนร้ายหรือผู้กระทำความผิด ปรากฏว่าที่แท้จริงตัวเองเป็นคนฆ่าพี่ชายของตัวเอง หรือคดีห้างทอง พนักงานสอบสวนละเลยที่จะหาพยานหลักฐานที่เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นการฆาตกรรมหรือไม่ เพราะเขาคิดว่าเป็นการฆ่าตัวเองตายแต่ต้น แต่นั่นเป็นการจัดฉากเนื่องจากพยานหลักฐานมีความสอดคล้องกันดูเสมือนผิดปกติ
การสืบสวน คือ การแสวงหาพยานหลักฐาน….. เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งเป็นจริงคืออะไร นั่นคือ นักสืบสวนต้องทะลายความไม่จริงออกไปจากความจริง มิใช่เป็นการแสวงหาความจริง
กล่าวโดยสรุป วัตถุประสงค์การตรวจค้น ก็เพื่อ
1.พบบุคคลต้องสงสัย หรือบุคคลตามหมายจับ
2.พบสิ่งของ ซึ่งอาจเป็นร่องรอย เช่น รอยข่วนตามร่างกายของคนร้าย เนื่องจาก
การต่อสู้ขัดขวางของผู้เสียหาย หรือสิ่งของที่ใช้ในการกระทำผิด ได้มาจากการทำผิด หรือมีไว้เป็นความผิดตามกฎหมาย
3.เป็นกลวิธีสืบสวน เช่น การดักฟังโทรศัพท์บ้านผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคนร้ายว่ามีการติดต่อกับใครบ้าง ดูความเคลื่อนไหวของผู้ร่วมกระทำความผิด แต่หากคนร้ายไหวตัวทัน นักสืบสวนก็จำเป็นต้องใช้วิธีการจู่โจมเข้าตรวจค้นจับกุม นอกจากการค้นปกติ เพื่อกดดันให้กลุ่มคนร้ายมีการเคลื่อนไหว เช่น กลุ่มคนร้ายมีการติดต่อทางโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้เราสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานสนับสนุนความเชื่อมโยงของกลุ่มคนร้าย และจับคนร้ายได้ในที่สุด
2.แผนการตรวจค้น
การตรวจค้นเป้าหมาย ฝ่ายสืบสวนจำเป็นต้องมีการวางแผนการตรวจค้นที่ดี ให้รอบคอบ และที่สำคัญคือ ต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ดังนี้
2.1 กำหนดสถานที่และเวลา
2.2 กำหนดวัตถุประสงค์การตรวจค้น
2.3 ข้อมูลสถานที่ สถานที่ตั้งอยู่ในซอยเท่าไหร่ ติดถนนใหญ่ชื่ออะไร หรือใกล้กับอาคารที่เป็นที่รู้จักหรือโดดเด่น สามารถมองเห็นได้ชัดเจน, ใครเป็นเจ้าของบ้าน อาคารชุด ทาวน์เฮาส์ อยู่เป็นครอบครัวพ่อ แม่ ลูก หรือใครพักอาศัยอยู่ร่วมด้วยหรือไม่ กี่คน เป็นผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก อายุเท่าไรบ้าง เพราะอาจขัดขวางการจับกุมได้, ความเป็นมาของบ้านเป้าหมายที่ขายต่อกันเป็นทอด ๆ, เวลาการใช้สถานที่ มีคนอาศัยอยู่ภายในบ้านช่วงเวลาใด เวลาใดคนในบ้านออกไปนอกบ้าน หรือผู้ต้องสงสัยอยู่ในบ้านเพียงตามลำพัง ทางเข้า-ออก และเส้นทางภายใน ตลอดจนจุดอ่อนจุดแข็งการตรวจค้น และบุคคลที่ใช้
2.4 ผู้ปฏิบัติงาน ขณะตรวจค้นจำเป็นต้องมีความละเอียดรอบคอบ สังเกตสิ่งใด
สำคัญ เพื่อได้ข้อมูลที่เราต้องการเพื่อเชื่อมโยงคนร้าย
2.5 อุปกรณ์เครื่องมือ อาวุธและเครื่องมือสื่อสาร, ยานพาหนะที่ใช้ขนส่งผู้ต้องหาการติดตามคนร้ายที่หลบหนี ใครเป็นคนขับรถ เฝ้ารถขณะตรวจค้น, เครื่องมือทำลายสิ่งกีดกั้น บางครั้งจำเป็นต้องใช้การทำลายกุญแจเพื่อเข้าไปตรวจภายในบ้าน หรือตู้เซฟ ตลอดจนเอกสาร เช่น บันทึกการจับกุม บันทึกของกลางในคดีคอมพิวเตอร์ พรินเตอร์ และเครื่องมือต่าง ๆ ตามสถานการณ์ เช่น ไฟฉายใช้ในการตรวจค้นเวลากลางคืน หรือเวลากลางวันเมื่ออยู่ในห้องที่เป็นเหลืบ ช่อง หรือห้องปิดทึบ รถจักรยานยนต์ โทรโข่ง เป็นต้น
3.การดำเนินงานตรวจค้น
3.1 ประชุมวางแผนและชี้แจงทำความเข้าใจ รู้ข้อมูล และมอบหมายแบ่งความ
รับผิดชอบว่าใครมีหน้าที่อย่างไร ทำอะไรบ้าง ที่สำคัญเน้นย้ำให้ผู้ร่วมงานทราบสิ่งที่เราต้องการสำหรับการตรวจค้นในครั้งนี้ให้ชัดเจน และอย่าประเมินคุณค่าลูกน้องต่ำ เพราะยศต่ำกว่าไม่ได้ หมายความว่า โง่กว่า ความคิดดี ๆ หรือข้อเสนอแนะในการทำงานเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เกิดจากประสบการณ์ที่สะสมเป็นเวลายาวนาน เราต้องทำความเข้าใจ ขอความเห็นจากลูกน้องบ้าง หรือตัวอย่างการทำนาด้วยวิธีล้มตอซังก็ไม่ได้เกิดจากค้นคว้าของนักวิชาการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่เป็นความคิด ช่างสังเกตของชาวนาเอง
3.2 การตรวจสอบความพร้อมทุกอย่างตามแผน ตามกำหนดนัด
3.3 การปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.4 ความรวดเร็วและละเอียดรอบคอบ
3.5 ประชุมสรุปผลการปฏิบัติเพื่อประเมิน การประเมินผลการปฏิบัติคือบทเรียน
ที่ต้องเรียนรู้ และหาหนทางแก้ไขการปฏิบัติงานการตรวจค้น ตัวอย่าง ประสบการณ์
ครั้งหนึ่งวางแผนจะเข้าตรวจค้นบ้านผู้ต้องสงสัยที่อยู่ต่างจังหวัด ข้อมูลทราบว่าคนร้ายจะออกจากบ้านตอนเช้า ถ้าในกรุงเทพฯ เช้าก็หมายถึงเวลาประมาณ 06.00 น. เราก็เข้าค้นบ้านคนร้าย ปรากฏว่าคนร้ายได้ออกไปจากบ้านตั้งแต่ 05.00 น. แล้ว เพราะเวลาเช้าต่างจังหวัดต่างจากเช้าในกรุงเทพฯ และเราต้องทราบว่ามีช่องทางเข้า-ออกบ้านทางทิศใดบ้าง เช่น สวนมะม่วงหลังบ้าน เพราะคนร้ายอาจเข้าสวนไปแล้ว หรือค้นบ้านที่เล่นการพนัน อยากทราบว่ามีคนเล่นกี่คน ก็อาจนับจำนวนรองเท้าหน้าบ้านว่ามีกี่คู่
ดังนั้น การประเมินผลการปฏิบัติพิจารณาจาก
1) วัตถุประสงค์
2) ผู้ปฏิบัติงานก่อนตรวจค้น ต้องแบ่งความรับผิดชอบว่าใครตรวจส่วนใด มิใช่ตรวจค้นตู้เดียวกัน 3 – 4 คน
3) อุปกรณ์เครื่องมือบ้านผู้ต้องหาเลี้ยงสุนัขเพื่อขัดขวางการทำงานหรือไม่
4) การวางแผน
การจับกุม
1.รูปแบบการจับกุม
การจับกุม มีรูปแบบการจับกุมใน 2 ลักษณะ คือ การจับเปิด และการจับปิด
ดังนี้
1.การจับเปิด ลักษณะมีรายละเอียดคือ
1.1 มีพยานหลักฐานสมบูรณ์ สามารถดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดได้
และก็ยังสามารถหาพยานหลักฐานอื่นเพิ่มเติมอีก เพื่อให้อัยการสั่งฟ้องต่อศาลได้ เช่น กรณีคดีขบวนการแบ่งแยกดินแดนและเข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่บาดเจ็บสาหัส และถึงแก่ความตาย ตลอดจนมีการปล้นอาวุธของทางราชการไปซุกซ่อน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการสืบสวนหาข่าว และเข้าทำการจับกุมกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้รถจักรยานยนต์และใช้มีดเป็นอาวุธ เพื่อเป็นการลดกระแสสังคมในขณะนี้ ขณะเดียวกันการจับกลุ่มคนร้ายบางส่วนเป็นกลอุบายให้ผู้ต้องการสำคัญเกิดการเคลื่อนไหว
2.การจับปิด ลักษณะมีรายละเอียดคือ
2.1 พยานหลักฐานไม่สมบูรณ์ หากจำเป็นต้องมีการจับปิด เนื่องจากการ
สืบสวนไม่มีพยานหลักฐานไม่พอเพียงร้องขอต่อศาลให้ออกหมายจับคนร้ายได้ จำเป็นต้องหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อเมื่อสามารถจับกุมคนร้ายได้แล้ว ขณะนำผู้ต้องหามาซักถามเราจะได้ข้อมูลจากสอบปากคำดักการให้ปากคำของผู้ต้องหา แสดงให้ผู้ต้องหาคิดว่าเราทราบเรื่องพอสมควรแล้ว จะทำให้ผู้ต้องหาเกิดความเกรงกลัว ไม่กล้าปกปิดข้อมูลความจริง ซึ่งจะได้ความจริงมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ว่า “ใช่” และ “กล้าเสี่ยง” จับคนร้ายเพื่อช่วยสังคมให้สงบสุขหรือไม่ เพียงใด ตัวอย่างคดีนักศึกษาแพทย์ เสริม สาครราษฎร์ หรือคดีนายแพทย์วิสุทธิ์ ทางคดีไม่มีประจักษ์พยาน ผู้ต้องหามีน้าเป็นทนาย การตรวจค้นที่นอนและรถยนต์ของผู้ต้องหาพบเส้นผมของผู้ตายซึ่งเป็นแผน (ซึ่งเป็นธรรมดาของคนเป็นแฟนกันที่จะนั่งรถไปด้วยกัน) แต่ทราบจากคนรับใช้ว่าปกติผู้ต้องหาไม่เคยจัดที่นอนหรือล้างทำความสะอาดเลย อยู่มาเช้าวันหนึ่งผู้ต้องหาลุกขึ้นมาทำความสะอาดรถยนต์และกำชับคนรับใช้ว่าอย่าบอกใครให้ทราบ พยานหลักฐานเพียงเท่านี้ ปัญหาจะร้องขอต่อศาลให้ออกหมายจับได้ไหม นั่นคือ หากนับสืบวิเคราะห์พฤติกรรมว่าใช่ และต้องใช้ความกล้าเสี่ยงพอ ซึ่งต่อมาได้พบพยานหลักฐานเพิ่มเติมเป็นเนื้อเยื่อของผู้ตายตามจุดต่าง ๆ ก็สามารถนำผู้ต้องหามาดำเนินคดีฟ้องร้องต่อศาลให้พิจารณาลงโทษได้ ดังนั้น การจับปิดเป็นการจับกุมที่ต้องใช้ความรวดเร็ว ท่ามกลางผู้คน ทั่วไปจำนวนมาก แต่ไม่ทราบว่าคนที่ถูกจับกุมคือใคร และนำมาซักถามหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม
2.2 การขยายผล มี 4 ลักษณะ คือ
1) การจับกุมผู้ร่วมกระทำความผิด เป็นการจับเพิ่มเติมขยายผลจับ
ผู้ต้องหาที่หลบหนีที่ร่วมกันเป็นขบวนการ
2) ทรัพย์สิน จับกุมเพื่อหาพยานหลักฐานเป็นทรัพย์สินของกลาง
เพิ่มเติม
3) เคยกระทำความผิดคดีอื่นมาก่อน เคยกระทำผิดในลักษณะนี้มาแล้ว
จำนวนกี่ครั้ง ร่วมกับใครบ้าง เพราะคนร้ายจะมีแผนประทุษกรรมใกล้เคียงกัน หรือเหมือนเดิม
4) วงการโจรจะรู้หรือทราบเรื่องการกระทำผิดอะไรอีก สามารถขยายผล
ทำให้รู้ว่าแก๊งค์อื่นมีใครร่วมกระทำผิดบ้าง โดยนำข้อมูลเหล่านั้นมาแลกหรือต่อรองการดำเนินคดีของผู้ต้องหาที่ถูกจับกุม
2.3 กลวิธีการสืบสวน
2.แผนการจับกุม
2.1 กำหนดตัวบุคคลเป้าหมายว่าจะจับกุมใครบ้าง ให้ทีมงานได้ทราบ จับใคร
ก่อน-หลัง เพื่อไม่ให้ข่าวแตก ทำให้คนร้ายไหวตัวได้ทัน
2.2 กำหนดวิธีการจับกุม จะใช้วิธีการจับกุมแบบเปิดหรือแบบปิด หรือกำหนด
ระยะเวลา 3 วัน 7 วัน หรือจับกุมผิดคนเพื่อหลอกให้ผู้ต้องหาหลงเชื่อ โดยฝ่ายสืบสวนต้องเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละเหตุการณ์
2.3 ข้อมูลของบุคคลเป้าหมาย
1) รู้ตัวจริง ต้องรู้ตัวผู้ต้องหาว่ามีหน้าตาอย่างไรจากข้อมูลทะเบียนราษฎร์
หรืออาจได้มาจากภาพสเก็ตส์
2) ประวัติการศึกษา โรงเรียนที่ผู้ต้องหาเคยศึกษาครู-อาจารย์ที่ผู้ต้องหา
ให้ความเคารพเป็นพิเศษ
3) สถานที่อาศัย ประกอบอาชีพ จุดเริ่มต้นการเจาะข่าวผู้ต้องหาจะย้อน
กลับไปหาผู้มีพระคุณหรือคุ้นเคย เช่น ผู้ต้องหาอยู่ในครอบครัวที่มีพ่อแม่ญาติพี่น้อง หรือตั้งแต่เด็ก ผู้ต้องหาไม่เคยอยู่กับพ่อแม่แต่พักอยู่กับญาติเป็นผู้ให้การเลี้ยงดูส่งเสียให้เรียนหนังสือ หรือประกอบอาชีพเป็นคนงาน เพื่อนร่วมงาน มีเถ้าแก่เป็นนายจ้าง ซึ่งเราสามารถหาข้อมูลจากการประกันสังคม
4) ลักษณะนิสัย ผู้ต้องหาชอบเล่นการพนัน สนุ๊กเกอร์
5) การเคลื่อนไหวประจำวัน
6) ครอบครัว ญาติ เพื่อน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ญาติบางคนไม่เคยว่ากล่าว
ผู้ต้องหาเลย หากเราซักถามเขาจะไม่ได้ความจริง เพราะภาพที่เขามองผู้ต้องหาเป็นคนดี หรือแม่ค้าส้มตำที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ สามารถจดจำตำหนิรูปพรรณคนร้ายได้ แต่เขากลัวถูกทำร้าย (ความปลอดภัย) และไม่สามารถประกอบอาชีพได้เนื่องจากผู้ต้องหามีอิทธิพล หากเราแต่งเครื่องแบบไปสอบถามหาข่าวจะได้การปฏิเสธ ไม่ได้คำตอบ เราปล่อยเวลาไปสักระยะให้ตำรวจปลอมตัวว่าเป็นคนบ้านเดียวกันกับแม่ค้า (พวกเดียวกัน ไว้เนื้อเชื่อใจ) แลค่อยเทียบเคียงถามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (เขาเกิดความอุ่นใจ) ดังนั้น เราต้องมีความคิดที่จะมีวิธีการสืบสนอย่างไร
2.4 ผู้ปฏิบัติ ต้องคลุกคลีการทำงานกับผู้ใต้บังคับบัญชา ความชอบ ความถนัด
ความคล่องตัวมีความแตกต่างกัน รู้จักเข้ากับคนก็ให้ทำหน้าที่ไปหาข่าว แต่ถ้าไม่รู้จะเริ่มเรื่องพูดคุยกับเขาอย่างไรก็ให้ไปเป็นคนเฝ้าจุด หรือบางคนก็ให้อยู่ที่รถยนต์คอยเป็นคนรับตัวผู้ต้องหา บางครั้งเป็นช่วงวิกฤตจำเป็นต้องให้คนที่ตัดสินใจเด็ดเดี่ยว และมีความแม่นยำในการใช้อาวุธปืนในการเข้าไปบ้านผู้ต้องหา
2.5 อุปกรณ์เครื่องมือ เช่น อาวุธประจำกาย เสื้อเกราะ ตรวจสอบการทำงาน
ของระบบอาวุธปืนว่าขัดข้องหรือไม่ กระสุนปืนอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้การได้หรือไม่ บางครั้งการวางแผนผิดพลาดคิดว่าผู้ต้องหาอยู่ภายในบ้านเพียงลำพัง แต่สถานการณ์ขณะนั้นผู้ต้องหาอยู่หลายคน ดังนั้น การส่งลูกน้องเพียงคนเดียว ก็ต้องปรับแผนเข้าจู่โจม จับกุมคนร้าย เพราะสถานการณ์น่าจะอันตราย สามารถรอจับได้ วันจับไม่ได้วันข้างหน้าก็โอกาสจับได้ตราบที่คดียังไม่หมดอายุความ อย่าทำอะไรที่เสี่ยงเกินไป การสร้างผลงานโดยเอาลูกน้องไปเสี่ยงจับผู้ต้องหาไม่ได้เสียดีกว่าเสียลูกน้องไป
2.6 สถานที่สอบปากคำ เมื่อจับกุมได้แล้วต้องรีบนำตัวผู้ต้องหาไปสอบปากคำ
สองต่อสองทันที ที่ใดก็ได้ เพราะเหตุที่ขณะนั้นผู้ต้องหายังไม่ทันได้คิด โดยจี้จุดถามถึงพฤติการณ์ของการกระทำความผิดเลยว่ากระทำอย่างไร ใครร่วมกระทำผิดบ้าง ของกลาง นำไปเอาไว้ที่ใด อย่าให้ตั้งตัวได้ ซึ่งผู้ต้องหาอาการจะออกให้เราได้เห็น ตรวจสอบความพิรุธของคนร้าย เช่น การหลบสายตา กลืนน้ำลาย ซึ่งคนไม่ได้กระทำความผิดจะตอบคำถามโดยไม่คิดเลย นอกจากนั้น ต้องนำหลักจิตวิทยาเข้ามาช่วยการซักถาม ไม่ว่าเป็น จี้จุด ขู่ ปลอบใจ ตามแต่สถานการณ์ อีกทั้งต้องมีแฟ้มคดีของผู้ต้องหามาประกอบการสอบปากคำด้วย เช่นเดียวกับการตรวจสถานที่เกิดเหตุ ต้องรีบไปสถานที่เกิดเหตุ เพราะสภาพสถานที่เกิดเหตุจะมีอยู่ ณ วินาทีเท่านั้น ทำให้การสืบสวนยากหรือไม่
3.การดำเนินงานจับกุม
3.1 เหมือนขั้นตอนการตรวจค้น
3.2 การสอบปากคำขณะยังไม่ตั้งตัว
3.3 การควบคุมตัว การพันธนาการให้ผ้าพันที่ไม่หนาเกินไปก่อนใช้กุญแจมือ
อย่าให้มีร่องรอยบาดเจ็บ บาดแผล และการจับปิด เป็นการจับกุมผู้ต้องหาต้องใช้ความรวดเร็ว เวลานำผู้ต้องหามาสอบปากคำ เพื่อให้ได้พยานหลักฐานเพิ่มเติมต้องรีบสอบ ไม่ใช่นานเกินไป ควรดูความเป็นไปได้ด้วย เพราะอาจมีบุคคลอื่นติดต่อกับผู้ต้องหาอยู่ อาจเป็นข้อพิรุธสงสัยได้ กำหนดผู้รับผิดชอบ ตรวจดูสภาพร่างกายและจิตใจ ของผู้ต้องหา ขณะเดียวกันก็หาจุด “ขี่” ผู้ต้องหา เช่น ทราบว่าผู้ต้องหาเคยกระทำผิดคดีค้างเก่าอีก 5 คดี หรือลูกเมียของผู้ต้องหาเดือดร้อนรับปากว่าจะดูแลครอบครัวผู้ต้องหาให้สุขสบายพอสมควร ไม่ให้เดือดร้อนจากการกระทำผิดของผู้ต้องหา หรือยื่นข้อเสนอ เงินทอง เพื่อเกิดความราบรื่น ก่อนผู้ต้องหามาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนต้องมีการต่อรองที่เราข่มผู้ต้องหาไว้เรียบร้อยแล้ว
3.4 การสอบปากคำ
1) กำหนดแนวทาง มีการไล่เรียงเหตุการณ์ หรือคาดการณ์พฤติการณ์ก่อน
ขณะหลังเกิดเหตุ อย่าซักถามผู้ต้องหาโดยย้อนเหตุการณ์กลับไปกลับมา
2) กำหนดผู้ซักถาม ในห้องสอบปากคำอย่าให้มีคนอื่นเข้าออก มีเหตุการณ์
หนึ่งจับกุมผู้ต้องหามาสอบปากคำอยู่ มีเจ้าหน้าที่เข้ามาในห้องทั้งที่ไม่เกี่ยวกับคดีแสดงความไม่พอใจ ผู้ต้องหามองหน้า และจะหาเรื่องผู้ต้องหา ทำให้การสอบปากคำหยุดชะงัก
ไม่สามารถได้ข้อมูลที่สำคัญได้
3) คำนึงถึงความปลอดภัยต่อตัวผู้ซักถามเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น