วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พล.ต.ต.โกสินทร์ หินเธาว์

พ.ต.อ.ดร.เศนิต สำราญสำรวจกิจ

พ.ต.อ.สราวุธ คนใหญ่

พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข

พล.ต.ต.คงเดช ชูศรี

พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน

พล.ต.ท.จักรทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา

พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม

พล.ต.ต.ศรกฤษณ์ แก้วผลึก

พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์

พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรักษ์

ประวัติสุดยอดนักสืบ

พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรักษ์
พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์
พล.ต.ต.ศรกฤษณ์ แก้วผลึก
พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม
พล.ต.ท.จักรทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา
พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน
พล.ต.ต.คงเดช ชูศรี
พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข
พ.ต.อ.สราวุธ คนใหญ่
พ.ต.อ.ดร.เศนิต สำราญสำรวจกิจ
พล.ต.ต.โกสินทร์ หินเธาว์

เทคนิคการสืบสวน พล.ต.ต.โกสินทร์ หินเธาว์

การดำเนินการภายหลังการสืบสวน : ยุทธวิธีการตรวจค้นและจับกุม
พล.ต.ต.โกสินทร์ หินเธาว์
การตรวจค้น
1.วัตถุประสงค์การตรวจค้น
1.1 เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานในคดี ที่มีการซ่อนเร้นไว้โดยธรรมชาติของคนร้าย (ซ่อนตัว และสิ่งของ)
- คนร้ายกระทำการเพื่อชีวิต เป็นแรงจูงใจของคนร้าย เช่น ซ่อนปืนที่ใช้ในการกระทำความผิด หรือกรณีเหตุการณ์ปล้นปืนของทางราชการภาคใต้ ปืนที่ได้มาซึ่งกระทำผิดนำไปซุกซ่อนเพื่อไม่ให้หาพบได้
- ขณะที่ตำรวจกระทำการเพื่อความหวัง เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ เกียรติยศ ศักดิ์ศรี ความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์เท่านั้น
แรงบันดาลใจในการตรวจค้น สิ่งที่ต้องพึงระลึกอยู่เสมอในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ 2 ประการ
1.“สิ่งที่มองไม่เห็น ไม่ได้หมายความว่าไม่มี” เช่น การตรวจสถานที่เกิดเหตุ เราต้องตรวจอย่างละเอียด บนโต๊ะหากมองตรง ๆ อาจมองไม่เห็นร่องรอยใด ๆ แต่หาก มองมุมเฉียงอาจพบลายนิ้วมือแฝงปรากฏอยู่ หรือตัวอย่างคดีห้างทอง เขาใช้น้ำยาทางเคมีและใช้แสงส่อง ตรวจสอบดูก็จะพบเห็นรอยคราบเลือดติดตามพรมและพื้นห้องที่เกิดเหตุ หรือร่องรอยฉีกขาดของเสื้อผ้าเส้นใยชนิดเดียวกัน และสามารถนำมาประติดประต่อกับเสื้อผ้าของคนร้ายได้อย่างแนบแน่น ก็เป็นพยานหลักฐานที่นักสืบสวนต้องละเอียดรอบคอบสำหรับการตรวจค้น
2.“สิ่งที่เห็น ไม่ได้หมายความว่าใช่” มีคดีหนึ่งมีบุคคลมาแจ้งว่า ตนเป็นผู้เสียหาย โดยมีคนร้ายยิงพี่ชายของตนถึงแก่ความตาย ต่อมาจากการสืบสวนการตรวจค้นเพื่อหาพยานหลักฐานเพื่อทราบว่าใครคือคนร้ายหรือผู้กระทำความผิด ปรากฏว่าที่แท้จริงตัวเองเป็นคนฆ่าพี่ชายของตัวเอง หรือคดีห้างทอง พนักงานสอบสวนละเลยที่จะหาพยานหลักฐานที่เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นการฆาตกรรมหรือไม่ เพราะเขาคิดว่าเป็นการฆ่าตัวเองตายแต่ต้น แต่นั่นเป็นการจัดฉากเนื่องจากพยานหลักฐานมีความสอดคล้องกันดูเสมือนผิดปกติ
การสืบสวน คือ การแสวงหาพยานหลักฐาน….. เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งเป็นจริงคืออะไร นั่นคือ นักสืบสวนต้องทะลายความไม่จริงออกไปจากความจริง มิใช่เป็นการแสวงหาความจริง
กล่าวโดยสรุป วัตถุประสงค์การตรวจค้น ก็เพื่อ
1.พบบุคคลต้องสงสัย หรือบุคคลตามหมายจับ
2.พบสิ่งของ ซึ่งอาจเป็นร่องรอย เช่น รอยข่วนตามร่างกายของคนร้าย เนื่องจาก
การต่อสู้ขัดขวางของผู้เสียหาย หรือสิ่งของที่ใช้ในการกระทำผิด ได้มาจากการทำผิด หรือมีไว้เป็นความผิดตามกฎหมาย
3.เป็นกลวิธีสืบสวน เช่น การดักฟังโทรศัพท์บ้านผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคนร้ายว่ามีการติดต่อกับใครบ้าง ดูความเคลื่อนไหวของผู้ร่วมกระทำความผิด แต่หากคนร้ายไหวตัวทัน นักสืบสวนก็จำเป็นต้องใช้วิธีการจู่โจมเข้าตรวจค้นจับกุม นอกจากการค้นปกติ เพื่อกดดันให้กลุ่มคนร้ายมีการเคลื่อนไหว เช่น กลุ่มคนร้ายมีการติดต่อทางโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้เราสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานสนับสนุนความเชื่อมโยงของกลุ่มคนร้าย และจับคนร้ายได้ในที่สุด
2.แผนการตรวจค้น
การตรวจค้นเป้าหมาย ฝ่ายสืบสวนจำเป็นต้องมีการวางแผนการตรวจค้นที่ดี ให้รอบคอบ และที่สำคัญคือ ต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ดังนี้
2.1 กำหนดสถานที่และเวลา
2.2 กำหนดวัตถุประสงค์การตรวจค้น
2.3 ข้อมูลสถานที่ สถานที่ตั้งอยู่ในซอยเท่าไหร่ ติดถนนใหญ่ชื่ออะไร หรือใกล้กับอาคารที่เป็นที่รู้จักหรือโดดเด่น สามารถมองเห็นได้ชัดเจน, ใครเป็นเจ้าของบ้าน อาคารชุด ทาวน์เฮาส์ อยู่เป็นครอบครัวพ่อ แม่ ลูก หรือใครพักอาศัยอยู่ร่วมด้วยหรือไม่ กี่คน เป็นผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก อายุเท่าไรบ้าง เพราะอาจขัดขวางการจับกุมได้, ความเป็นมาของบ้านเป้าหมายที่ขายต่อกันเป็นทอด ๆ, เวลาการใช้สถานที่ มีคนอาศัยอยู่ภายในบ้านช่วงเวลาใด เวลาใดคนในบ้านออกไปนอกบ้าน หรือผู้ต้องสงสัยอยู่ในบ้านเพียงตามลำพัง ทางเข้า-ออก และเส้นทางภายใน ตลอดจนจุดอ่อนจุดแข็งการตรวจค้น และบุคคลที่ใช้
2.4 ผู้ปฏิบัติงาน ขณะตรวจค้นจำเป็นต้องมีความละเอียดรอบคอบ สังเกตสิ่งใด
สำคัญ เพื่อได้ข้อมูลที่เราต้องการเพื่อเชื่อมโยงคนร้าย
2.5 อุปกรณ์เครื่องมือ อาวุธและเครื่องมือสื่อสาร, ยานพาหนะที่ใช้ขนส่งผู้ต้องหาการติดตามคนร้ายที่หลบหนี ใครเป็นคนขับรถ เฝ้ารถขณะตรวจค้น, เครื่องมือทำลายสิ่งกีดกั้น บางครั้งจำเป็นต้องใช้การทำลายกุญแจเพื่อเข้าไปตรวจภายในบ้าน หรือตู้เซฟ ตลอดจนเอกสาร เช่น บันทึกการจับกุม บันทึกของกลางในคดีคอมพิวเตอร์ พรินเตอร์ และเครื่องมือต่าง ๆ ตามสถานการณ์ เช่น ไฟฉายใช้ในการตรวจค้นเวลากลางคืน หรือเวลากลางวันเมื่ออยู่ในห้องที่เป็นเหลืบ ช่อง หรือห้องปิดทึบ รถจักรยานยนต์ โทรโข่ง เป็นต้น
3.การดำเนินงานตรวจค้น
3.1 ประชุมวางแผนและชี้แจงทำความเข้าใจ รู้ข้อมูล และมอบหมายแบ่งความ
รับผิดชอบว่าใครมีหน้าที่อย่างไร ทำอะไรบ้าง ที่สำคัญเน้นย้ำให้ผู้ร่วมงานทราบสิ่งที่เราต้องการสำหรับการตรวจค้นในครั้งนี้ให้ชัดเจน และอย่าประเมินคุณค่าลูกน้องต่ำ เพราะยศต่ำกว่าไม่ได้ หมายความว่า โง่กว่า ความคิดดี ๆ หรือข้อเสนอแนะในการทำงานเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เกิดจากประสบการณ์ที่สะสมเป็นเวลายาวนาน เราต้องทำความเข้าใจ ขอความเห็นจากลูกน้องบ้าง หรือตัวอย่างการทำนาด้วยวิธีล้มตอซังก็ไม่ได้เกิดจากค้นคว้าของนักวิชาการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่เป็นความคิด ช่างสังเกตของชาวนาเอง
3.2 การตรวจสอบความพร้อมทุกอย่างตามแผน ตามกำหนดนัด
3.3 การปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.4 ความรวดเร็วและละเอียดรอบคอบ
3.5 ประชุมสรุปผลการปฏิบัติเพื่อประเมิน การประเมินผลการปฏิบัติคือบทเรียน
ที่ต้องเรียนรู้ และหาหนทางแก้ไขการปฏิบัติงานการตรวจค้น ตัวอย่าง ประสบการณ์
ครั้งหนึ่งวางแผนจะเข้าตรวจค้นบ้านผู้ต้องสงสัยที่อยู่ต่างจังหวัด ข้อมูลทราบว่าคนร้ายจะออกจากบ้านตอนเช้า ถ้าในกรุงเทพฯ เช้าก็หมายถึงเวลาประมาณ 06.00 น. เราก็เข้าค้นบ้านคนร้าย ปรากฏว่าคนร้ายได้ออกไปจากบ้านตั้งแต่ 05.00 น. แล้ว เพราะเวลาเช้าต่างจังหวัดต่างจากเช้าในกรุงเทพฯ และเราต้องทราบว่ามีช่องทางเข้า-ออกบ้านทางทิศใดบ้าง เช่น สวนมะม่วงหลังบ้าน เพราะคนร้ายอาจเข้าสวนไปแล้ว หรือค้นบ้านที่เล่นการพนัน อยากทราบว่ามีคนเล่นกี่คน ก็อาจนับจำนวนรองเท้าหน้าบ้านว่ามีกี่คู่
ดังนั้น การประเมินผลการปฏิบัติพิจารณาจาก
1) วัตถุประสงค์
2) ผู้ปฏิบัติงานก่อนตรวจค้น ต้องแบ่งความรับผิดชอบว่าใครตรวจส่วนใด มิใช่ตรวจค้นตู้เดียวกัน 3 – 4 คน
3) อุปกรณ์เครื่องมือบ้านผู้ต้องหาเลี้ยงสุนัขเพื่อขัดขวางการทำงานหรือไม่
4) การวางแผน
การจับกุม
1.รูปแบบการจับกุม
การจับกุม มีรูปแบบการจับกุมใน 2 ลักษณะ คือ การจับเปิด และการจับปิด
ดังนี้
1.การจับเปิด ลักษณะมีรายละเอียดคือ
1.1 มีพยานหลักฐานสมบูรณ์ สามารถดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดได้
และก็ยังสามารถหาพยานหลักฐานอื่นเพิ่มเติมอีก เพื่อให้อัยการสั่งฟ้องต่อศาลได้ เช่น กรณีคดีขบวนการแบ่งแยกดินแดนและเข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่บาดเจ็บสาหัส และถึงแก่ความตาย ตลอดจนมีการปล้นอาวุธของทางราชการไปซุกซ่อน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการสืบสวนหาข่าว และเข้าทำการจับกุมกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้รถจักรยานยนต์และใช้มีดเป็นอาวุธ เพื่อเป็นการลดกระแสสังคมในขณะนี้ ขณะเดียวกันการจับกลุ่มคนร้ายบางส่วนเป็นกลอุบายให้ผู้ต้องการสำคัญเกิดการเคลื่อนไหว
2.การจับปิด ลักษณะมีรายละเอียดคือ
2.1 พยานหลักฐานไม่สมบูรณ์ หากจำเป็นต้องมีการจับปิด เนื่องจากการ
สืบสวนไม่มีพยานหลักฐานไม่พอเพียงร้องขอต่อศาลให้ออกหมายจับคนร้ายได้ จำเป็นต้องหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อเมื่อสามารถจับกุมคนร้ายได้แล้ว ขณะนำผู้ต้องหามาซักถามเราจะได้ข้อมูลจากสอบปากคำดักการให้ปากคำของผู้ต้องหา แสดงให้ผู้ต้องหาคิดว่าเราทราบเรื่องพอสมควรแล้ว จะทำให้ผู้ต้องหาเกิดความเกรงกลัว ไม่กล้าปกปิดข้อมูลความจริง ซึ่งจะได้ความจริงมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ว่า “ใช่” และ “กล้าเสี่ยง” จับคนร้ายเพื่อช่วยสังคมให้สงบสุขหรือไม่ เพียงใด ตัวอย่างคดีนักศึกษาแพทย์ เสริม สาครราษฎร์ หรือคดีนายแพทย์วิสุทธิ์ ทางคดีไม่มีประจักษ์พยาน ผู้ต้องหามีน้าเป็นทนาย การตรวจค้นที่นอนและรถยนต์ของผู้ต้องหาพบเส้นผมของผู้ตายซึ่งเป็นแผน (ซึ่งเป็นธรรมดาของคนเป็นแฟนกันที่จะนั่งรถไปด้วยกัน) แต่ทราบจากคนรับใช้ว่าปกติผู้ต้องหาไม่เคยจัดที่นอนหรือล้างทำความสะอาดเลย อยู่มาเช้าวันหนึ่งผู้ต้องหาลุกขึ้นมาทำความสะอาดรถยนต์และกำชับคนรับใช้ว่าอย่าบอกใครให้ทราบ พยานหลักฐานเพียงเท่านี้ ปัญหาจะร้องขอต่อศาลให้ออกหมายจับได้ไหม นั่นคือ หากนับสืบวิเคราะห์พฤติกรรมว่าใช่ และต้องใช้ความกล้าเสี่ยงพอ ซึ่งต่อมาได้พบพยานหลักฐานเพิ่มเติมเป็นเนื้อเยื่อของผู้ตายตามจุดต่าง ๆ ก็สามารถนำผู้ต้องหามาดำเนินคดีฟ้องร้องต่อศาลให้พิจารณาลงโทษได้ ดังนั้น การจับปิดเป็นการจับกุมที่ต้องใช้ความรวดเร็ว ท่ามกลางผู้คน ทั่วไปจำนวนมาก แต่ไม่ทราบว่าคนที่ถูกจับกุมคือใคร และนำมาซักถามหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม
2.2 การขยายผล มี 4 ลักษณะ คือ
1) การจับกุมผู้ร่วมกระทำความผิด เป็นการจับเพิ่มเติมขยายผลจับ
ผู้ต้องหาที่หลบหนีที่ร่วมกันเป็นขบวนการ
2) ทรัพย์สิน จับกุมเพื่อหาพยานหลักฐานเป็นทรัพย์สินของกลาง
เพิ่มเติม
3) เคยกระทำความผิดคดีอื่นมาก่อน เคยกระทำผิดในลักษณะนี้มาแล้ว
จำนวนกี่ครั้ง ร่วมกับใครบ้าง เพราะคนร้ายจะมีแผนประทุษกรรมใกล้เคียงกัน หรือเหมือนเดิม
4) วงการโจรจะรู้หรือทราบเรื่องการกระทำผิดอะไรอีก สามารถขยายผล
ทำให้รู้ว่าแก๊งค์อื่นมีใครร่วมกระทำผิดบ้าง โดยนำข้อมูลเหล่านั้นมาแลกหรือต่อรองการดำเนินคดีของผู้ต้องหาที่ถูกจับกุม
2.3 กลวิธีการสืบสวน
2.แผนการจับกุม
2.1 กำหนดตัวบุคคลเป้าหมายว่าจะจับกุมใครบ้าง ให้ทีมงานได้ทราบ จับใคร
ก่อน-หลัง เพื่อไม่ให้ข่าวแตก ทำให้คนร้ายไหวตัวได้ทัน
2.2 กำหนดวิธีการจับกุม จะใช้วิธีการจับกุมแบบเปิดหรือแบบปิด หรือกำหนด
ระยะเวลา 3 วัน 7 วัน หรือจับกุมผิดคนเพื่อหลอกให้ผู้ต้องหาหลงเชื่อ โดยฝ่ายสืบสวนต้องเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละเหตุการณ์
2.3 ข้อมูลของบุคคลเป้าหมาย
1) รู้ตัวจริง ต้องรู้ตัวผู้ต้องหาว่ามีหน้าตาอย่างไรจากข้อมูลทะเบียนราษฎร์
หรืออาจได้มาจากภาพสเก็ตส์
2) ประวัติการศึกษา โรงเรียนที่ผู้ต้องหาเคยศึกษาครู-อาจารย์ที่ผู้ต้องหา
ให้ความเคารพเป็นพิเศษ
3) สถานที่อาศัย ประกอบอาชีพ จุดเริ่มต้นการเจาะข่าวผู้ต้องหาจะย้อน
กลับไปหาผู้มีพระคุณหรือคุ้นเคย เช่น ผู้ต้องหาอยู่ในครอบครัวที่มีพ่อแม่ญาติพี่น้อง หรือตั้งแต่เด็ก ผู้ต้องหาไม่เคยอยู่กับพ่อแม่แต่พักอยู่กับญาติเป็นผู้ให้การเลี้ยงดูส่งเสียให้เรียนหนังสือ หรือประกอบอาชีพเป็นคนงาน เพื่อนร่วมงาน มีเถ้าแก่เป็นนายจ้าง ซึ่งเราสามารถหาข้อมูลจากการประกันสังคม
4) ลักษณะนิสัย ผู้ต้องหาชอบเล่นการพนัน สนุ๊กเกอร์
5) การเคลื่อนไหวประจำวัน
6) ครอบครัว ญาติ เพื่อน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ญาติบางคนไม่เคยว่ากล่าว
ผู้ต้องหาเลย หากเราซักถามเขาจะไม่ได้ความจริง เพราะภาพที่เขามองผู้ต้องหาเป็นคนดี หรือแม่ค้าส้มตำที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ สามารถจดจำตำหนิรูปพรรณคนร้ายได้ แต่เขากลัวถูกทำร้าย (ความปลอดภัย) และไม่สามารถประกอบอาชีพได้เนื่องจากผู้ต้องหามีอิทธิพล หากเราแต่งเครื่องแบบไปสอบถามหาข่าวจะได้การปฏิเสธ ไม่ได้คำตอบ เราปล่อยเวลาไปสักระยะให้ตำรวจปลอมตัวว่าเป็นคนบ้านเดียวกันกับแม่ค้า (พวกเดียวกัน ไว้เนื้อเชื่อใจ) แลค่อยเทียบเคียงถามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (เขาเกิดความอุ่นใจ) ดังนั้น เราต้องมีความคิดที่จะมีวิธีการสืบสนอย่างไร
2.4 ผู้ปฏิบัติ ต้องคลุกคลีการทำงานกับผู้ใต้บังคับบัญชา ความชอบ ความถนัด
ความคล่องตัวมีความแตกต่างกัน รู้จักเข้ากับคนก็ให้ทำหน้าที่ไปหาข่าว แต่ถ้าไม่รู้จะเริ่มเรื่องพูดคุยกับเขาอย่างไรก็ให้ไปเป็นคนเฝ้าจุด หรือบางคนก็ให้อยู่ที่รถยนต์คอยเป็นคนรับตัวผู้ต้องหา บางครั้งเป็นช่วงวิกฤตจำเป็นต้องให้คนที่ตัดสินใจเด็ดเดี่ยว และมีความแม่นยำในการใช้อาวุธปืนในการเข้าไปบ้านผู้ต้องหา
2.5 อุปกรณ์เครื่องมือ เช่น อาวุธประจำกาย เสื้อเกราะ ตรวจสอบการทำงาน
ของระบบอาวุธปืนว่าขัดข้องหรือไม่ กระสุนปืนอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้การได้หรือไม่ บางครั้งการวางแผนผิดพลาดคิดว่าผู้ต้องหาอยู่ภายในบ้านเพียงลำพัง แต่สถานการณ์ขณะนั้นผู้ต้องหาอยู่หลายคน ดังนั้น การส่งลูกน้องเพียงคนเดียว ก็ต้องปรับแผนเข้าจู่โจม จับกุมคนร้าย เพราะสถานการณ์น่าจะอันตราย สามารถรอจับได้ วันจับไม่ได้วันข้างหน้าก็โอกาสจับได้ตราบที่คดียังไม่หมดอายุความ อย่าทำอะไรที่เสี่ยงเกินไป การสร้างผลงานโดยเอาลูกน้องไปเสี่ยงจับผู้ต้องหาไม่ได้เสียดีกว่าเสียลูกน้องไป
2.6 สถานที่สอบปากคำ เมื่อจับกุมได้แล้วต้องรีบนำตัวผู้ต้องหาไปสอบปากคำ
สองต่อสองทันที ที่ใดก็ได้ เพราะเหตุที่ขณะนั้นผู้ต้องหายังไม่ทันได้คิด โดยจี้จุดถามถึงพฤติการณ์ของการกระทำความผิดเลยว่ากระทำอย่างไร ใครร่วมกระทำผิดบ้าง ของกลาง นำไปเอาไว้ที่ใด อย่าให้ตั้งตัวได้ ซึ่งผู้ต้องหาอาการจะออกให้เราได้เห็น ตรวจสอบความพิรุธของคนร้าย เช่น การหลบสายตา กลืนน้ำลาย ซึ่งคนไม่ได้กระทำความผิดจะตอบคำถามโดยไม่คิดเลย นอกจากนั้น ต้องนำหลักจิตวิทยาเข้ามาช่วยการซักถาม ไม่ว่าเป็น จี้จุด ขู่ ปลอบใจ ตามแต่สถานการณ์ อีกทั้งต้องมีแฟ้มคดีของผู้ต้องหามาประกอบการสอบปากคำด้วย เช่นเดียวกับการตรวจสถานที่เกิดเหตุ ต้องรีบไปสถานที่เกิดเหตุ เพราะสภาพสถานที่เกิดเหตุจะมีอยู่ ณ วินาทีเท่านั้น ทำให้การสืบสวนยากหรือไม่
3.การดำเนินงานจับกุม
3.1 เหมือนขั้นตอนการตรวจค้น
3.2 การสอบปากคำขณะยังไม่ตั้งตัว
3.3 การควบคุมตัว การพันธนาการให้ผ้าพันที่ไม่หนาเกินไปก่อนใช้กุญแจมือ
อย่าให้มีร่องรอยบาดเจ็บ บาดแผล และการจับปิด เป็นการจับกุมผู้ต้องหาต้องใช้ความรวดเร็ว เวลานำผู้ต้องหามาสอบปากคำ เพื่อให้ได้พยานหลักฐานเพิ่มเติมต้องรีบสอบ ไม่ใช่นานเกินไป ควรดูความเป็นไปได้ด้วย เพราะอาจมีบุคคลอื่นติดต่อกับผู้ต้องหาอยู่ อาจเป็นข้อพิรุธสงสัยได้ กำหนดผู้รับผิดชอบ ตรวจดูสภาพร่างกายและจิตใจ ของผู้ต้องหา ขณะเดียวกันก็หาจุด “ขี่” ผู้ต้องหา เช่น ทราบว่าผู้ต้องหาเคยกระทำผิดคดีค้างเก่าอีก 5 คดี หรือลูกเมียของผู้ต้องหาเดือดร้อนรับปากว่าจะดูแลครอบครัวผู้ต้องหาให้สุขสบายพอสมควร ไม่ให้เดือดร้อนจากการกระทำผิดของผู้ต้องหา หรือยื่นข้อเสนอ เงินทอง เพื่อเกิดความราบรื่น ก่อนผู้ต้องหามาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนต้องมีการต่อรองที่เราข่มผู้ต้องหาไว้เรียบร้อยแล้ว
3.4 การสอบปากคำ
1) กำหนดแนวทาง มีการไล่เรียงเหตุการณ์ หรือคาดการณ์พฤติการณ์ก่อน
ขณะหลังเกิดเหตุ อย่าซักถามผู้ต้องหาโดยย้อนเหตุการณ์กลับไปกลับมา
2) กำหนดผู้ซักถาม ในห้องสอบปากคำอย่าให้มีคนอื่นเข้าออก มีเหตุการณ์
หนึ่งจับกุมผู้ต้องหามาสอบปากคำอยู่ มีเจ้าหน้าที่เข้ามาในห้องทั้งที่ไม่เกี่ยวกับคดีแสดงความไม่พอใจ ผู้ต้องหามองหน้า และจะหาเรื่องผู้ต้องหา ทำให้การสอบปากคำหยุดชะงัก
ไม่สามารถได้ข้อมูลที่สำคัญได้
3) คำนึงถึงความปลอดภัยต่อตัวผู้ซักถามเอง

เทคนิคการสืบสวน พ.ต.อ.ดร.เศนิต สำราญสำรวจกิจ

ข้อมูลที่ใช้ในการสืบสวน
พ.ต.อ.ดร.เศนิต สำราญสำรวจกิจ
1.การบริหารงานสืบสวน
กระบวนการบริหาร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
1.การวางแผนปฏิบัติงาน การทำงานทุกอย่างต้องคิดก่อนทำงาน วางแผนก่อนว่าจะทำอะไร ต้องดูนโยบายของนายเป็นหลัก แล้วคิดหางานทำตามนโยบาย
2.การปฏิบัติตามแผน
3.การติดตามและประเมินผล
การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การติดตามประเมินผล
ทบทวน/ปรับปรุง
ทักษะที่ต้องใช้
1.ทักษะพื้นฐานทางด้านเทคนิคการสืบสวนทั้งหมด ได้แก่ ต้องรู้ ต้องเป็น
2.ทักษะทางมนุษยสัมพันธ์ ต้องปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานข้างเคียง เช่น โทรศัพท์
ทะเบียนราษฎร์ ถ้าจะได้ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กันเป็นการส่วนตัว เราจะขอข้อมูลได้ง่าย
3.เทคนิคทางด้านความคิด
1.การวางแผน
- การทำงานต้องมีการคิดก่อนทำงานว่า นโยบายหน่วยเหนือจะเป็นอย่างไร ต้องคิดแผนการทำงานตามนโยบาย
- ต้องรู้ข้อมูลลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน ต้องรู้ประวัติส่วนตัว ของเขา เข้าใจเขา ต้องของบประมาณจากผู้บังคับบัญชา โดยก่อนออกปฏิบัติต้องวางแผนขอคน งบประมาณการจัดการ อุปกรณ์การทำงาน
- ข้อมูลการสืบสวน ได้แก่ นาฬิกาอาชญากรรม สถิติคดีอาญา 5 กลุ่ม สถิติเปรียบเทียบคดีอาญาของแต่ละปี แผนประทุษกรรม
2.การปฏิบัติตามแผน เริ่มตามที่ได้วางแผนไว้
3.การติดตามประเมินผล
- ตามดู ประกบตามทุกขั้นตอนว่าลูกน้องไปทำจริงมั้ย ตั้งใจทำจริงมั้ย ต้องหลอกบ้าง ทดสอบบ้างว่าไปจริงหรือไม่จริง
- การปฏิบัติบรรลุผลหรือไม่
2.ความสำคัญของข้อมูล
"รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง"
- เราต้องรู้พื้นที่รับผิดชอบของเรา ต้องไปเดินดูพื้นที่ว่าแผนที่ สำรวจ หาข่าวต่าง ๆ ว่าจุดใดอยู่ที่ใด
- คนทำงานหรือนายก็เหมือนกัน เราต้องศึกษาดูว่านายแต่ละคนเกิดวันเดือนปีใด ชอบสิ่งใด ไม่ชอบสิ่งใด เราต้องหาข้อมูล ศึกษาและทำในสิ่งที่ชอบ
- พื้นที่เป้าหมายที่จะเข้าค้น ต้องรู้ข้อมูล ศึกษาเอาไว้
- การตัดสินใจที่ดี ขึ้นอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ดี
ข้อมูล แบ่งได้ดังนี้
1.ข้อมูลก่อนเกิดเหตุ ในท้องที่มีสิ่งใดบ้าง อยู่จุดใด มีใครเป็นเจ้าของ สถานที่ แล้วเข้าไปศึกษาเก็บข้อมูลไว้
2.ข้อมูลหลังเกิดเหตุ
ข้อมูลที่ดี
- ถูกต้อง ผ่านการเช็คแล้วเช็คอีก
- ทันสมัย Update อยู่ตลอดเวลา
- เชื่อถือได้ ใครเข้ามาตรวจสอบก็ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด
- รวดเร็ว หาง่าย
เมื่อไปอยู่ในพื้นทื่ทำอย่างไร เราถึงจะได้ข้อมูลได้มากที่สุด เร็วที่สุด ต้องคิดว่าจะใช้เทคโนโลยีใด
หน่วยงานที่สนับสนุนข้อมูล
1.สำนักงานบริหารการทะเบียน ได้แก่ ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ บุคคล
2.ทว. ได้แก่ แผนประทุษกรรม
3.พฐ. ได้แก่ การตรวจพิสูจน์ร่องรอยหลักฐานทางคดี
4.นิติจิตเวช ได้แก่ ประวัติการรักษา
5.องค์การโทรศัพท์ ได้แก่ ที่อยู่ ชื่อ
6.ประกันสังคม ได้แก่ ข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ การทำงาน
7.Bank
8.อัยการ ได้แก่ ผลคดี ประวัติบุคคล
9.ศาล ได้แก่ ผลคดี
10.ราชทัณฑ์ ได้แก่ บุคคลต้องโทษ พ้นโทษ พักโทษ
11.สถานพยาบาล ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ คนไข้ ประวัติการรักษา
12.การท่าอากาศยาน ได้แก่ ตรวจชื่อคนเข้าออก ข้อมูลการเงิน การท่ามีวงจรปิดทั้งสนามบิน
13.หน่วยงานเอกชน เช่น
- ธนาคาร - บัตรเครดิต
- ผู้ให้บริการโทรศัพท์/การสื่อสารต่างประเทศ - ห้างสรรพสินค้า
- บริษัทประกันภัย - seven eleven
- โรงแรม อพาร์ทเมนท์ คอนโดมิเนียม - Finance
- โรงเรียน สถานศึกษา - สื่อมวลชน
- โรงงาน - ปั๊มน้ำมัน
- สถานบริการ - AEON
- โรงรับจำนำ/รับคืนของเก่า - ร้านทอง
- ร้านจำหน่ายสินค้าประเภท Dilivery
14.กรมการขนส่งทางบก
15.กรมที่ดิน
16.ไปรษณีย์
17.กรมทะเบียนการค้า
18.ศปร.น.
กรณีคดีลักทรัพย์ ควรมีข้อมูลอะไรบ้าง
1.แผนที่สังเขป
2.เส้นทางเข้าออกของคนร้าย
3.ลายนิ้วมือ นิ้วเท้าแฝง
4.รอยเท้า เศษวัสดุต่าง ๆ เช่น โคลน ดิน เศษด้าย
5.ทรัพย์สินที่สูญหายและตำหนิรูปพรรณ
6.ข้อมูลคนในบ้านที่เกิดเหตุ
7.ร่องรอยการงัดแงะ
8.ข้อมูลที่มีการเข้าออกของบุคคลภายนอก
9.วันเวลาที่เกิดเหตุ
10.ประจักษ์พยาน/พยานแวดล้อม
11.สิ่งของคนร้ายที่คาดว่าอาจตกอยู่ในที่เกิดเหตุ
12.แผนประทุษกรรม
13.ข้อมูลร้านขายของเก่า/โรงรับจำนำ
14.ทรัพย์สินที่สูญหายไปมีประกันภัยหรือไม่
15.ตรวจสอบบุคคลต้องสงสัย สถานที่ต้องสงสัยใกล้เคียง
16.ตรวจสอบบุคคลย้อนหลังที่อาศัยบ้านที่เกิดเหตุ
17.สอบปากคำบุคคลภายในบ้านทั้งหมด
เหตุฆาตกรรมด้วยอาวุธปืน ณ อาคารคอนโดฯแห่งหนึ่ง ข้อมูลใดบ้างที่ต้องให้ความสนใจ
วางแผนที่เกิดเหตุ
1.ศพ
- ลักษณะท่าทางการตาย การแต่งกาย
- บาดแผน ทิศทางเข้า-ออก กระสุน ร่องรอยการต่อสู้
- หาเวลาตาย
- รอยเลือด หยดเลือด การกระเซ็นโลหิต
- ชื่อ สกุล ประวัติผู้ตาย งาน
- ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท
- กิจวัตรประจำวัน ทำอะไรก่อนตาย ติดต่อใคร
- เขม่าดินปืน
2.สถานที่เกิดเหตุ
- บ้านเลขที่
- เจ้าของ/ผู้ที่อาศัย/คนเข้า-ออก
- หมายเลขโทรศัพท์/มือถือ
- ข้อมูลห้องข้างเคียง และซักถาม
- แผนที่สังเขป
- กล้องวงจรปิด
- รปภ./การเข้า-ออก/คน
- เอกสารภายในห้อง/บัญชีธนาคาร การตรวจสอบอาวุธปืน/ลูกกระสุน
- ทรัพย์สินที่สูญหายไป
3.ปืน
- ข้อมูล ชนิด ขนาด ทะเบียน
- ปลอกกระสุน หัวกระสุน
- หัวกระสุนในศพและที่เกิดเหตุ
- ผู้ครอบครอง
- เขม่าดินปืน
4.พยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ
- ลักษณะการตาย การต่อสู้
- รอยเลือด หยดเลือด การกระเซ็นเลือด
- รอยมือ รอยเท้าแฝง ร่องรอยแฝงอื่น
- เศษวัสดุแปลกปลอม
- ร่องรอยงัดแงะ
- ทรัพย์สินเสียหาย
- พยานข้างเคียง รปภ.
- ขยะ เอกสาร สิ่งของในห้อง
- แผนประทุษกรรมที่เคยเกิดขึ้น
- หาพยานบุคคลใกล้เคียงและสอบปากคำ
ข้อมูลที่ควรมีในห้องปฏิบัติการสืบสวน
1.ข้อมูลท้องถิ่น
- รายชื่อผู้นำชุมชน/หมู่บ้าน
- บัญชีสถานบริการ/โรงแรม/บัญชีรายชื่อลูกจ้าง
- บุคคลต่างด้าว
- บุคคลสำคัญ เช่น สส., สว.
- สถานที่ราชการที่สำคัญ
- ข้อมูลผู้มีอิทธิพล
- บัญชีโรงรับจำนำ/ร้านรับซื้อของเก่า
- บัญชีผู้ซ่อมรถ
2.ข้อมูลทางคดี
- หมายจับ แยกตามประเภทคดี
- แผนประทุษกรรม
- บัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้าย
- สมุดภาพคนร้าย
- ประวัติผู้ต้องหา
- ประวัติผู้ต้องสงสัย
- บัญชีผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
- ข้อมูล ศปร.
3.ข้อมูลอื่น ๆ
- นาฬิกาอาชญากรรม
- ตารางเปรียบเทียบคดีอาญา 5 กลุ่ม
- รายชื่อ เบอร์โทร. ผู้ปฏิบัติ/หัวหน้า
- คำสั่งมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ
- รายงานประจำวัน
- รายงานการสืบสวนคดีต่าง ๆ
- แฟ้มข่าวอาชญากรรม
- แผนที่แสดงพื้นที่รับผิดชอบ
- เครื่องคอมพิวเตอร์ Police
- Modem internet
- Com. กับข้อมูลในหน่วย และ โปรแกรมเช็คเบอร์โทร.
3.ข้อมูลงานสืบสวน
1.แฟ้มสืบสวนเฉพาะเรื่อง ได้แก่ แบบ ส.ส. 3 (เก็บในตู้เอกสาร) โดยมีสาเหตุอะไร ตั้งแฟ้ม 1 เรื่อง ได้ข้อมูลอะไร เอาข้อมูลมาเข้าแฟ้มให้หมด แล้วตามเรื่องไปเรื่อย ๆ
2.สถิติคดีอาชญากรรม ไว้ใช้ประเมินผล
3.สมุดควบคุมการสืบสวน ของสถานีตำรวจว่าคดีนี้มอบหมายให้ใครรับผิดชอบ
4.สรุปผลแสดงผลการจับกุมของฝ่ายสืบสวน
5.ภาพถ่าย ประวัติ ตำหนิรูปพรรณผู้ต้องหา
6.แผนประทุษกรรมคนร้าย
7.ข้อมูลท้องถิ่น
8.ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ
9.ข้อมูลทรัพย์สินที่ถูกประทุษร้ายและยังไม่ได้คืน
10.แหล่งข่าว ทำสมุดคุมไว้ แล้วทำ Record การทำงานไว้ ถ้าสายลับทำงานไม่จริงบ่อย ไม่ต้องเสี่ยงต่อไป
11.สมุดรับคำร้องเรียน
12.หมายค้น
13.หมายจับ
การประสานงานหน่วยที่เกี่ยวข้อง
การจัดเก็บข้อมูล
1.จัดเก็บเป็นแฟ้มเอกสาร
- เรียงแฟ้มตามลักษณะงานธุรการ งานสืบสวน
- ข้อมูลงานสืบสวนแยกเป็นสถานที่ บุคคล ประเภทคดี
- ในแต่ละแฟ้มเรียงจากเรื่องก่อนไว้ล่างสุดตามระบบจัดเอกสาร
2.จัดเป็นแฟ้มคอมพิวเตอร์

ข้อสรุป
          ข้อมูลมีความสำคัญ แต่การจัดทำและการจัดเก็บข้อมูลเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และความทุ่มเท ต้องตั้งใจและเริ่มลงมือทำทันที แล้วในอนาคตท่านจะเป็นนักสืบที่เก่งคนหนึ่ง

เทคนิคการสืบสวน พ.ต.อ.สราวุธ คนใหญ่

การวางแผนและดำเนินการ
พ.ต.อ.สราวุธ คนใหญ่
คดี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1.คดีสด
- คดีเกิดทันทีทันใด มีผู้ต้องหา พยานหลักฐาน มีผู้พบเห็น แล้วเข้าไปดำเนินการ
- ต้องใช้การวางแผนที่ครบถ้วน
2.คดีค้างเก่า
- ไม่จำเป็นต้องวางแผนมาก
- ปัจจุบันตำรวจต้องยกเลิกการหวงข้อมูลคดีของแต่ละหน่วย
- ให้ใช้การประสานงานระหว่างหน่วยงาน
3.คดีที่เป็นลักษณะองค์กร ปกปิด หลบซ่อนการกระทำผิด
- ยาเสพติด ค้ากามข้ามชาติ ปลอมธนบัตร
- คดีที่ก่ออยู่แล้ว และก่อต่อไปเรื่อย ๆ
คดีสด
รู้เรื่อง รู้ตัว จับกุม
*ความสำเร็จ
ศาลพิพากษา
ยกฟ้อง
ตัวอย่าง
1.สืบหาประวัติผู้ตาย
- ส่งรายชื่อผู้ตาย เช่น นายขาว มีประวัติต้องโทษลักทรัพย์ มีการศึกษาประวัติผู้ตาย
- หาพยานใกล้ที่เกิดเหตุ
- ลายนิ้วมือทะเบียนราษฎร
- ประกาศหา
2.สาเหตุที่ทำให้ตาย เช่น ถูกเชือกรัดคอ
3.ผู้ตายมีสาเหตุทะเลาะกับผู้ใด อันจะเป็นเหตุให้เกิดคดีนี้
4.ทิศทางเข้า-ออก ของคนร้าย
5.ทรัพย์สินใดสูญหายบ้าง หรือมีร่องรอยการรื้อค้นทรัพย์สินหรือไม่
6.มีพยานหลักฐานใดในที่เกิดเหตุ
- ลายนิ้วมือแฝงที่ตู้เซฟหรือศพ
- รอยรองเท้าผู้ต้องสงสัย เบอร์อะไร ขนาดอย่างไร เอาไว้เทียบกับผู้ต้องสงสัย
- ปมเชือกรัดผิดปกติ (มีวิธีเฉพาะ)
- ศึกษาแผนประทุษกรรม
- ส่ง AFIS
วิธีการเข้าสู่การจับกุม รู้เรื่อง รู้ตัว
- ใช้เทคนิคการสืบสวนทุกอย่าง
- ทำงานเป็นทีม
- การวิเคราะห์คดี
ตัวอย่างการวิเคราะห์คดี เทคนิคการวิเคราะห์
1.หลักธรรมชาติมนุษย์
- ถ้าหลบหนี คนที่จะไปช่วยไม่พ้นลูก เมีย ญาติพี่น้อง พ่อแม่
- คดีข่มขืน ต้องคนที่ใกล้ที่เกิดเหตุหรือเคยมาที่เกิดเหตุ
- โจรชิงทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ เกิดมูลฐานมาจากยาเสพติด
2.แผนประทุษกรรม จดจำแผนประทุษกรรมจากการทำงานไว้เสมอ
3.อ่านหนังสือพิมพ์ (คดี)
- อ่านเยอะ ๆ
- แล้ววิเคราะห์ตามคดีว่าถ้าเราสืบ เราจะทำอย่างไรบ้าง
4.ดูทีวี (หนังสืบสวน สารคดี CSI) ถ้าทำได้ก็เลียนแบบหนังทีวี
5.อ่านหนังสือมาก ๆ
- หนังสือสืบสวนต่าง ๆ เทคนิคการสืบสวน นิตยสาร เอกสาร
- เล่นเกมส์จับผิดภาพ
- เล่นเกมส์สืบสวน หนังสือ กลเม็ดจับผู้ร้าย ของซีเอ็ดบุ๊ค

เทคนิคการสืบสวน ซักถาม อ.วัลลี ธรรมโกสิทธิ์

จิตวิทยาการซักถาม
อ.วัลลี ธรรมโกสิทธิ์
การซักถาม พยาน หรือ ผู้ต้องหา สิ่งที่เราต้องการที่ได้จากกการซักถาม
1. ข้อเท็จจริงแห่งคดีที่เกิดขึ้น ซึ่งการซักถามพยานบุคคลมุ่งเน้นเพื่อจะทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร
2. ความคิด ของผู้ต้องหา หรือพยาน ซึ่งในกรณีผู้ต้องหาการซักถามของเจ้าหน้าที่จิตแพทย์ ทำให้ทราบว่าผู้ต้องหาดังกล่าวมีสภาพจิตใจเป็นอย่างไร เพราะเกี่ยวเนื่องกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 ซึ่งเป็นกรณียกเว้นโทษสำหรับผู้กระทำความผิดที่มีสภาพจิตไม่สมบูรณ์ ทำให้เราทราบว่าขณะที่กระทำความผิดนั้นคนร้ายคิดอย่างไร เช่น กรณีที่คนร้ายให้การว่าขณะที่เกิดเหตุมีเสียงคล้ายกับเสียงสั่งการมาให้กระทำความผิดซึ่งจะเห็นได้ว่าเข้ากรณีวิกลจริต หรือสภาพจิตใจไม่ปกติ
3. แรงจูงใจ หรือ วัตถุประสงค์
การซักถามนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ คือ ตัวเรา และ ตัวเขา ( พยาน หรือ ผู้ต้องหา ) โดยเราจะต้องเข้าใจสภาพของตัวเข้าก่อน แล้วจึงปรับสภาพตัวเราให้เข้ากันได้
คุณสมบัติของตำรวจที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องการดังต่อไปนี้คือ
1 ความซื่อสัตย์ในงาน
2 ความรู้สำนึกในหน้าที่ และความรับผิดชอบ
3 ความอดทน ภายใต้ความกดดันต่างๆ และแกร่งสำหรับสถานการณ์ที่จำเป็น
4 ความก้าวร้าวอย่างมีเหตุผล ซึ่งจะขาดเหตุผลไม่ได้
5 สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี
• สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของการซักถามของตำรวจ คือ ตำรวจจะคิดเอาเองว่าเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนั้น ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการซักถาม และเกิดอคติ ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งจะไม่ยืดหยุ่น เพราะฉะนั้น ตำรวจจะต้องพยายามปรับตัวเองให้ได้
• สิ่งที่ตำรวจขาดอีกอย่างหนึ่ง คือ ทักษะของการสื่อสาร ( Communication Skills ) คือ การแบ่งแยกทักษะในการสื่อสาร เช่น พยานเป็นเด็กจะปฏิบัติอย่างไร , เป็นผู้หญิงจะปฏิบัติอย่างไร , ผู้ต้องห่าควรปฏิบัติอย่างไร ซึ่งทักษะการสื่อสารที่สำคัญคือ การซักถามพยานและ ผู้ต้องหา โดยมีหลักเบื้องค้นดังต่อไปนี้คือ
การนั่ง ถ้าเป็นผู้ต้องหา ควรจะต้องนำเก้าอี้มานั่งเสมอกัน และนั่งหันหน้าเข้าหากัน หรือ ถ้าเป็นผู้หญิงจะต้องหันข้างเข้าหากัน เพื่อลดความกดดัน
นั่งซักถามผู้ต้องหานั่งเสมอหันหน้าเข้าหากัน นั่งซักถามพยานหันด้านข้างเข้าหากัน
คนที่สามารถตรวจสอบได้ว่าใครพูดจริงทั้งหมด หรือโกหก
ป้องกันทุจริต ต้องใช้นิติจิตวิทยาคลินิก ซึ่งจะมีแบบทดสอบจิตวิทยา Unconcious ซึ่งซ่อนอยู่ภายใต้จิตได้สำนึกมาเพื่อตรวจสอบ ซึ่งนักจิตวิทยาจะรู้ว่าคน ๆ นี้มีพื้นฐานภูมิหลังอย่างไร จะมีพื้นฐานอารมณ์ สติปัญหาเป็นอย่างไร
การดูคนไข้ในโรงพยาบาลนิติจิตเวช จะต้องใช้เวลาดู 3 - 4 เดือนขึ้นไป จนแน่ใจ จึงจะตอบกลับไปว่า คน ๆ นั้นบ้าหรือไม่บ้า (การดูคนไข้ 1 คน ดู 45 วัน เป็นอย่างน้อย)
ถ้าตำรวจสามารถจำแนกประเภทของบุคคลได้ จะง่ายต่อการสืบสวนสอบสวน เช่น
คนอันธพาล
- ส่วนใหญ่จะฉลาด แต่ใช้ในทางที่ผิด
- จะไม่มีความรู้สึกว่าสิ่งที่ทำนั้นผิด จะไม่มีความเศร้า ไม่มีความรู้สึกผิดกับการกระทำที่ตนทำอยู่
-ไม่ไว้ใจใคร
ดังนั้น การที่จะให้คนอันธพาลร่วมมือในการสอบปากคำ สืบสวน จะต้องสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันอย่างไร
- พวกนี้เป็นพวก Payeopath สร้างกลไกป้องกันตนเอง แล้วโทษคนอื่นตลอด และ
พวกนี้มักจะชอบสร้าง Gang มีพรรคพวกมาก ๆ
ดังนั้น การจะเป็นนักสืบที่ดี คือ
1.รู้จักคน รู้ว่าคนคนนี้เป็นคนประเภทไหน ระบุประเภทของคนได้ รู้จิตวิทยา
ของบุคคลแต่ละคนด้วย ต้องรู้ว่าเวลาคนเข้ามาติดต่อประสานงานเราเป็นคนที่มี Personality และจิตวิทยาอย่างไร จะช่วยให้เรามองบุคคลนั้นโดยไม่มีอคติ และทัศนคติที่ไม่ดี การมีอคติจะทำให้เรามองด้านเดียว ดังนั้น ทัศนคติต้องเป็นกลาง ๆ แล้วมองจิตวิทยาของแต่ ละคน นักสืบต้องมองกลุ่มคนนั้น ๆ ที่จะสืบ โดยยอมรับในความเป็นคน ๆ นั้นของเขา เพราะว่าตามหลักจิตวิทยาความคิดจะโน้มน้าวพฤติกรรมคน เมื่อคิดลบความรู้สึกจะเป็นลบ เมื่อคิดบวกความรู้สึกจะเป็นบวก
2.รู้จักฟัง
- ต้องฟังให้เป็น การเป็นนักฟังที่ดีต้องจ้องหน้า มองหน้าผู้พูดทั้งเจ้าทุกข์และ
ผู้ต้องหามีสิทธิโกหกได้ทุกคน ส่วนใหญ่ตำรวจฟังเพื่อเอาเรื่องราว แต่ไม่ได้ฟังถึงอารมณ์ของผู้พูด ไม่ได้ฟังความรู้สึกของผู้พูด
- คนในแต่ละพื้นที่ ถ้าเราพูดภาษาเขาได้ แสดงออกเหมือน ๆ เขาจะได้ใจ กลุ่มเขา
- การจะรู้จักคนต้องรู้วิถีชีวิตเขา เข้าไปสู่วิถีชีวิตเขาได้
การเป็นนักสืบที่ดีต้องฟังเรื่องราวข้อเท็จจริง ฟังอารมณ์ เรื่องราวของอารมณ์ เปรียบเสมือนก้อนโดนัท
อารมณ์
เรื่องราว
การรู้จักฟังต้องเห็นอารมณ์เขา ตามอารมณ์เขาได้ พูดเข้ากับอารมณ์โดยเน้น
- ฟังด้วยตา รู้สภาพอารมณ์ ความรู้สึก ต้องช่างสังเกต
- ฟังด้วยหู
- ฟังด้วยใจ
การฟังด้วยตา การสังเกตลักษณะท่าทางตั้งแต่หัวจรดเท้า การดูท่าทาง เช่น ขบกราม (เป็นการควบคุมอารมณ์ภายในไม่ให้แสดงออกมา เป็นการเก็บกดอย่างมาก) การกลั้นลูกกระเดือก
การสังเกตท่าทางจะได้อารมณ์ที่เชื่อมโยงอะไรต่าง ๆได้
การสังเกตนี้สำคัญที่สุด ถ้าจะฟังแล้วทำให้ผู้ฟังรู้สึกเห็นใจเขา ใช้เทคนิคดังนี้
เทคนิค Empathic Listening skill (ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ)
การแสดงความเห็นอกเห็นใจ จะได้มาซึ่งข้อเท็จจริง คือ LADDER
Look มอง ประสานสายตาบ้าง สังเกตมองภาษากายบ้าง น่าถามถึงใคร
คนฟังเกิดอาการสะดุด ตรึกไว้
Ask ต้องถามบ้าง จะทำให้ผู้พูดรู้สึกว่าเราใส่ใจเขา น่าจะถามเรื่องความรู้สึกก่อนที่จะเข้าประเด็นของปัญหา เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์ต้องการให้ความรู้สึกก่อนทุกคน ทุกคนต้องการเพื่อน
รับรู้ความรู้สึกอย่าเข้าประเด็นก่อนเด็ดขาด คำพูดถาม-ตอบความรู้สึกของเขาเป็นประโยชน์ทั้งนั้น
Don’t interrupt เวลาเขาตอบอย่าไปพูดตัดบท หรือถามแทรกเขาเวลาเขาพูด ถ้า
อยากพูดกันให้เกิดสัมพันธภาพ อย่าไปพูดแทรกแซงเขา เราต้องฟังเพื่อสร้างสัมพันธภาพ และเพื่อสังเกตท่าทาง การพูดแทรกเข้าไปจะก่อให้เกิด Noise หรือ Psycological Noise เกิดอาการด่วนสรุปผิด ๆ ทำให้เขาไม่ยอมเปิดเผยหรือพูดให้หมด เราก็จะ สรุปผิด
Don’t Change the Subject ไม่เปลี่ยนเรื่องราวไปพูดเรื่องอื่น เรื่องจะไม่จบ
Emotion การฟังเขาต้องมีการแสดงออกทางอารมณ์ของคนไปตามอารมณ์เขา
โดยการนิ่งมาก ๆ อย่าไปขัด แต่ในบางกรณีก็ต้องแสดงอารมณ์
เห็นอกเห็นใจ
Response การตอบสนอง
สรุป Emphatic Listening Skills เหมาะกับคดีทางเพศและทารุณกรรมเด็กมากโดยเฉพาะคดีทุกข์ ๆ เศร้า ๆ ต้องแสดงอารมณ์เศร้า เห็นใจตามเขา เขาจะรู้ว่าเราเห็นใจ
3.รู้จักพูด โดยธรรมชาติของคน ถ้าเราถามเขา เขาจะปฏิเสธก่อน การรู้จักทางจิตวิทยามีวิชาอยู่ 1 วิชา เสนอโดย Alizabeth Kuber Ross ที่ศึกษาอารมณ์ของคนเวลาเกิดอารมณ์ซึมเศร้า ทุกข์ใจ หรือตกใจ จะเกิดภาวะ 5 สภาวะตามแผนภาพด้านล่าง
ระยะโกรธ
อารมณ์รุนแรง
ปกติ ระยะต่อรอง ยอมรับ
Chock
ปฏิเสธ ซึมเศร้า
(อารมณ์ การรับรู้)
ระยะแรก ปกติ ปฏิเสธ โกรธ ต่อรอง ซึมเศร้า ยอมรับ
ระยะที่ 2 เมื่อถูกจับ จะเกิดการปกป้องทางจิต คือการปฏิเสธ
ระยะที่ 3 เมื่อปฏิเสธจะมีการโต้ตอบ โต้เถียง เกิดอารมณ์
ระยะที่ 4 เมื่อไม่เถียง เราต้องพูดถึงพยานหลักฐานที่จะมัดตัว ในสภาพอารมณ์
ตอนนั้นทางจิตใจเริ่มต้น เริ่มมีเหตุผลแล้ว ในใจเขาจะต่อรองต่าง ๆ
เราต้องต่อรองกับเขา
ระยะที่ 5 เมื่อเขารู้ว่าเขาผิด เขาจะเริ่มซึมเศร้าให้เห็นชัดเจน
ระยะที่ 6 จะยอมรับและสารภาพ
การสร้างสภาวะจากระยะปฏิเสธไปถึงยอมรับ เราใช้การพูดทางจิตวิทยา โดยใช้หลักการถาม พูด แบบแสดงความเห็นอกเห็นใจเขา เขาจะพูดออกมาเรื่อย ๆ
การส่งตัวผู้ต้องหาไป รพ.นิติจิตเวช เพื่อพิสูจน์ว่าบ้าหรือไม่บ้า
1.มีหนังสือส่งตัว
2.ทำหนังสืออายัดตัวที่ สน.ศาลาแดง
3.จัดทีมจิตเวชเพิ่ม 1 คน
- จิตแพทย์ ตรวจสภาพตัวเอง
- นักจิตวิทยา ตรวจ I.Q. ตรวจอาการทางสมอง ตรวจจิตวิทยาคลินิก
- นัก PSW นักสังคมสงเคราะห์
- นัก O.T. อาชีวบำบัด ต้องมีกิจกรรมทำเพื่อรักษา ใช้กิจกรรมเป็นสื่อรักษา
- พยาบาลจิตเวช
เมื่อนักจิตเวชทั้ง 5 คน ได้รายงานแล้วจะมาเข้า Conference แล้ววิเคราะห์ วินิจฉัยกันทาง
- Clinical Dx คือ วิเคราะห์ว่าเป็นโรคทางจิตเวชหรือไม่
- Ligocal Dx คือ วิเคราะห์ว่าการกระทำขณะกระทำผิดเป็นโรคจิตเวชหรือไม่
บันไดแห่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
หลักแห่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
1.พฤติกรรมปกติ
2.ความเห็นอกเห็นใจ
3.ความร่วมมือ
4.ศรัทธา ไว้ใจ เชื่อใจ
5.การเปลี่ยนแปลง
ซึ่งทั้ง 5 ขั้นนี้ จะต้องใช้เทคนิคดังนี้
- การถาม
- การทวนความ
- การแสดงความเห็นอกเห็นใจ
- การสรุปความ
- การฟัง
6.เสนอทางเลือก
- เราจะใช้เทคนิคอย่างไรที่จะทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
- ในขั้นที่ 3 ความร่วมมือ เทคนิคในการสร้างสัมพันธภาพ เรียกว่า SOLER
S = Square - การนั่งพูดคุยกัน ถ้าเป็นพยานหรือคนที่ต้องการ
สร้างสัมพันธภาพ เราต้องนั่งในลักษณะ Square
คือ นั่งเฉียง
-ผู้ต้องสงสัย จะเน้นการนั่งตรง ๆ ไม่มีสิ่งกั้น เพื่อ
จะสังเกตท่าทางผู้ต้องสงสัย
O = Open - จิตใจ
L = Learning - มีลักษณะท่าทางภาษากาย โน้มตัวเข้าหา
E = Eye Contact - มองตา สบตา
R = Relase - แสดงอาการที่สบาย
ในการสร้างความร่วมมือในการซักถาม เราต้องสร้างสัมพันธภาพทางจิตวิทยา
(จะรู้สึกดุ) การพูดคุยกันในสังคม รู้จักกัน เราเรียกสัมพันธภาพทางสังคม ดังนั้น การจะสร้างให้เกิดความร่วมมือในขั้น Repport เพื่อล้วงความในใจเขา ต้องมีเทคนิค
การสร้างสัมพันธภาพเชิงจิตวิทยา (เชิงบำบัด) อาศัยเทคนิคดังนี้
1.การถาม
2.ทวนความ
3.การแสดงความเห็นอกเห็นใจ
4.สรุปความ
5.ฟัง
6.เสนอทางเลือก
ก่อนเริ่มซักถาม
- ต้องทราบข้อมูลประวัติของผู้ถูกซักถามก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าเขาเป็นคนประเภทใด
จะได้เตรียมตัวก่อนซักถามได้ถูกต้องกับบุคลิกภาพของแต่ละคน
- การเข้าสู่คนร้ายแต่ละประเภทไม่เหมือนกันแต่มีหลักเทคนิคเรื่องนี้ได้เหมือนกัน
เทคนิค
1.เทคนิคในการซักถาม
1.1 ควรมีห้องสอบปากคำเฉพาะจะดีมาก
- ควรมีห้องส่วนตัว ไม่มีรูปภาพ มีประตูเข้าออกทางเดียว ไม่ควรมีสิ่งของใดอยู่บนโต๊ะ ซึ่งจะช่วยไม่ให้เกิดการเบี่ยงเบนความสนใจของเขา
- ไม่ควรมีดินสอ ปากกา อยู่บนโต๊ะ เพราะเขาจะจับมาเขียน การเขียนจะช่วยให้เขาผ่อนคลาย และจะไม่ถูกกดดัน เราจะเค้นไม่ได้
1.2 คนในห้องควรมี 1 ต่อ 1 ไม่ควรเกิน 2 คน
1.3 กรณีเพศหญิง ควรให้ผู้หญิงถาม ถ้าไม่มีก็ให้ผู้ชายโดยเลือกคนที่มีบุคลิกภาพดีที่น่าเกรงขาม น่าเชื่อถือ
1.4 จำนวนผู้สอบสวน 2 คน ไม่ควรเกิน 2 คน
ในเรื่องความรู้สึกก่อน เริ่มต้นการซักถามโดยวิธีการ small talk เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างเรากับเขา โดยการถามชื่อ ที่อยู่ การงาน แนะนำตัวหรืออะไรก็ได้ที่ไม่เจาะจงในเรื่องคดี ในเรื่องที่ไม่ต้องคิด
เทคนิคการถาม โดยสื่อให้คนพูดทราบว่าเราสนใจสิ่งที่เขาพูด
การถาม เริ่มต้นด้วยการถาม การถามมี 2 แบบ คือ คำถามเปิดกับคำถามปิด
ควรเริ่มต้นด้วยการถามด้วยคำถามเปิด (ไม่เฉพาะคำตอบสั้น ๆ) ไม่ควรใช้คำถามปิด (คำถามที่มีคำตอบเฉพาะเจาะจง, ใช่หรือไม่)
- คำถามเปิด เวลาคนตอบ เราจะได้ทั้งเรื่องราวและความรู้สึกขณะที่เขาตอบ
- คำถามปิด จะขึ้นต้นด้วย "อะไร อย่างไร รู้สึก… ฯลฯ"
- ขณะที่เขาเล่าเรื่อง ให้ฟังด้วยหู และสังเกตด้วยตา
- ควรใช้คำถามเปิด ในการเปิดประเด็นคำถาม
- การใช้คำถามปิด เมื่อรู้ข้อเท็จจริงมาชัดเจนแล้ว
- คำถามที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "ทำไม" เปลี่ยนไปใช้คำว่า "เพราะอะไร" คำถามที่ขึ้นต้นด้วย "ทำไม" ผู้ฟังจะรู้สึกเหมือนถูกตอกย้ำ มีลักษณะเหมือนมีการตำหนิ มีทัศนคติทางลบ
2.เทคนิคในการทวนความ
- เป็นสื่อในการให้ผู้พูดทราบว่าเราเข้าใจสิ่งที่เขาพูดว่าอย่างไร
- การทวนความก็คือ การจับประโยคสุดท้ายของคำพูด แล้วถามกลับเขาไป
- เป็นการบอกให้เขารู้ว่าเราตามฟังเขาอยู่ และเพื่อเปิดประเด็นไปสู่การเล่า
เรื่องเขาต่อไป
- เป็นการใช้ทักษะเพื่อให้ขยายความต่อ
3. เทคนิคการสะท้อนความรู้สึก
- คนที่ถูกนำตัวมาซักถาม มักมีความรู้สึกกลัว ระแวง โกรธ กังวล ตื่นเต้นไม่พอใจ
- เราจะได้รับรู้ความรู้สึกนั้นจากคนนั้น เราจะทำอย่างไรให้เขาคลายหรือลดความรู้สึกข้างต้นได้
- เราจะทำได้ ต้องใช้เทคนิคการสะท้อนความรู้สึก เรามองเขา ถ้าเห็นเขารู้สึก
อย่างไร ก็พูดให้เขาทราบว่าเรารู้ เราต้องจับความรู้สึกของคนให้ได้ โดยการสังเกตจากสีหน้าท่าทาง สังเกตจากคำพูดของเขา
- ถ้าเราจับความรู้สึกเขาได้ วิธีสะท้อนความรู้สึกก็คือ พูดถึงถามเขาว่า รู้สึกอย่างนั้นใช่ไหม เทคนิคนี้สำคัญ เหมาะกับผู้ใต้บังคับบัญชาหรือใช้ในการซักถาม
- การสะท้อนความรู้สึก ไม่ได้ทำให้ความรู้สึกหาย แต่ทำให้เกิด Self awarmess (เกาะรู้สึกตัว) เมื่อคนเรากระจ่างในอารมณ์ของตัวเอง จะกระจ่างในความคิดต่อมา จะมีสติ จะเข้าใจปัญหาของตนเองยิ่งขึ้น
ดังนั้น เมื่อเราสะท้อนความรู้สึกไป คนนั้นจะเริ่มมีสติ รู้สึกตัว และจะเริ่มรับฟังคนอื่น
- การสะท้อนความรู้สึก อย่าสักแต่พูดว่า "ผมเข้าใจความรู้สึกคุณ" เราต้องจับให้ได้และพูดให้ตรงจุดด้วย
- การสะท้อนความรู้สึก ควรใช้ในตอนเริ่มแรกของการสนทนา เพื่อลดความเป็นอุปสรรค หรือสิ่งกีดขวาง หรือลดความผ่อนคลายระหว่างเขากับเรา หรือถ้าเราซักถามไปแล้วสังเกตเห็นความรู้สึกเขาเปลี่ยนแปลงอยู่ช่วงหนึ่ง ให้เราพูดสะท้อนความรู้สึกอีก เพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการถามผู้ถูกซักถาม
4.เทคนิคการให้กำลังใจ
- ให้กำลังใจ มี 2 อย่าง
- ในขณะเขาเล่า พูด เราต้องฟังความ ตา หู เราต้องแสดงท่ารับฟังด้วย เพื่อให้เขามีกำลังใจเล่าต่อ เช่น ครับ ครับ...รับทราบ อย่างไรครับ อึ้ม เป็นอย่างไรต่อ หรือพยักหน้าด้วย นั่นคือ การพูดเพื่อให้กำลังใจ หรือพยักหน้าเพื่อสื่อสารให้กำลังใจผู้พูด
- ไม่ใช่การถามคำตอบคำ เป็นเทคนิคง่าย ๆ ในการให้ถามเล่าต่อแบบสั้น ๆ
- เทคนิคการให้กำลังใจกับปลอบใจไม่เหมือนกัน การปลอบใจไม่ใช่การให้กำลังใจแต่การให้กำลังใจเป็นเชิงจิตวิทยา เป็นการทำให้เขาเข้าใจเรา ต้องหาจุดดีของเขาออกมาให้ได้แล้วชมเชย เป็นการให้กำลังใจเขาเพื่อให้เขาเกิดความรู้สึกร่วมมือ เป็นการให้กำลังใจเขาเชิงจิตวิทยา เพื่อให้เขายอมพูดแต่โดยดี อันเนื่องมาจากความเชื่อใจ ไว้ใจ ผู้ถาม จุดดีต่าง ๆ เช่น กตัญญู เรียนเก่ง ทำงานเก่ง เป็นต้น การพูดว่า "คุณเป็นคนเก่ง" แค่นี้ไม่ใช่การให้กำลังใจ เป็นแค่การชมเชยเท่านั้น
5. เทคนิคการเสนอทางเลือก
- คนที่ไม่กล้ารับสารภาพ เพราะกลัวติดคุก เขาไม่มีทางเลือกอื่นใดเลย เราต้องหาทางเลือกให้เขา ให้มีหลายทางเลือก เช่น สารภาพ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร หรือไม่สารภาพ มีข้อเสียอย่างไร
6.ทักษะการเงียบ
- เวลาเราคุยกับเพื่อน เวลาเราเงียบหรือเพื่อนเงียบ อีกคนจะคิดว่าเขาไม่เข้าใจที่พูดหรือไม่ เขาคิดอะไรในใจอยู่
- เทคนิคถ้าเขาเงียบ เราก็เงียบ เพื่อให้เขาสำรวจความคิดเขา ถ้าเขาเงียบไปนาน ๆ เราก็เงียบสักครู่ ถามต่อไปว่าที่คุณเงียบไป คุณคิดอะไรอยู่ ถ้าเขายังเงียบอยู่ อย่าเร่งรัดให้รีบพูดทันที
7.Stop Technic
- ถ้าเจอพยานที่พูดมาก พูดไม่หยุด เล่าเพ้อเจ้อ เราต้องพูดหยุดเขา อาจใช้การสรุปความ หรือสะท้อนความรู้สึก
8.เทคนิคการสรุปความ
- ถ้าเขาพูดเพ้อเจ้อไม่หยุด เมื่อเขาหยุดให้เราสรุปความตั้งแต่ต้น แล้วถามด้วยการพูดสะท้อนความรู้สึกเขา เพื่อตรวจสอบว่าเรากับเขาพูดเข้าใจตรงกันหรือไม่
- ควรสรุปประเด็นความเป็นช่วง ๆ เพื่อไม่ให้เขาพูดจ้อ ไร้สาระตั้งแต่ต้นจนจบ
ดูงานสนามบินสุวรรณภูมิ

เทคนิคการสืบสวน พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข

การสัมภาษณ์ ซักถามและการสอบปากคำ
พล.ต.ต.สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข

ความสำคัญของการฟังในกระบวนการสัมภาษณ์ซักถาม  และการสอบปากคำ
   -เราสามารถแสวงหาข้อมูลที่ถูกต้องมากกว่าและสมบูรณ์มากกว่าได้โดยง่าย ด้วยการเพียงแต่  "ฟัง"
   -เรามักจะมอง  แต่ไม่เห็น  และมักจะได้ยิน  แต่ไม่ได้ฟัง
   -ความเร็วเฉลี่ยในการพูด   =  125 คำ/นาที
   -ความเร็วเฉลี่ยในการฟัง   =  400 คำ/นาที
   -การพูดแบบเล่าเรื่อง จะทำให้รับรู้ถึงมุมมองและความรู้สึกของผู้เล่าได้ดี  และถูกต้องมากกว่าการตั้งคำถาม
   ดังนั้น ตำรวจเราต้องเริ่มต้นด้วยการ  "ฟัง" ก่อน
   "การรับรู้"  (Perception)  มนุษย์จะรับรู้จากจำเรื่องคนอื่นเล่าได้เพียง 50%
   การฟังคนอื่น ให้รับรู้ความรู้สึกผู้อื่น  ไม่เอาตัวเราเป็นที่ตั้ง  เพราะจะทำให้เกิดความลำเอียง (Bias)
หลักของการฟัง   ฟังอย่างไรได้ประโยชน์
   1.เตรียมการฟัง
        - ทัศนคติเชิงสร้างสรรค์ ถ้าเราสามารถกำหนดเวลาและสถานที่ได้  ต้องกำหนด
ในสถานที่และเวลาที่เหมาะสม  สร้างสรรค์  ที่คนถูกสัมภาษณ์เต็มใจ
        - รับรู้สภาพแวดล้อม  การสอบที่บ้าน  จะรับรู้ทัศนคติของผู้ตอบได้ดีกว่า  แต่จะควบคุมพยานลำบาก  แต่การสอบที่ทำการ ควบคุมพยานได้ดีกว่า  แต่จะไม่รู้ถึงทัศนคติของผู้ตอบได้จริง
        - ตั้งใจฟัง
        - ประสานตา
   2.หยุดยิงคำถาม
        - อย่าขัดจังหวะ
        - อย่าด่วนสรุปหรือตัดสิน
   3.แสดงให้เห็นว่ากำลังฟัง
        - กำจัดสิ่งกีดกั้นทางกายภาพ  เช่น  โต๊ะที่นั่ง  ไมโครโฟนที่ขวาง จะทำให้รู้สึกห่างเหิน
        - เผชิญหน้า     ประมาณ 40% ของการสนทนากัน  ถ้าสูงหรือต่ำกว่านี้ไม่ดี
        - ประสานตา
        - ตอบรับโดยแสดงออกทางใบหน้า
        - แสดงอาการยอมรับตามสมควร
ลักษณะของผู้ฟังที่ดี  ให้อยู่ตามอารมณ์ของผู้พูด
   1.มองผู้พูด
   2.ถามคำถามเพื่อความชัดเจน
   3.แสดงความห่วงใยด้วยการถามถึงความรู้สึก
   4.ทวนคำบางคำของผู้พูด
   5.สงบนิ่ง  ควบคุมอารมณ์ได้  พยายามทำใจตามความคิดของผู้พูด  อย่าไปด่วนสรุปก่อน
   6.ตอบรับเป็นครั้งคราวด้วยการพยักหน้าหรือยิ้ม
   7.ตั้งใจฟัง นักฟังที่ดีต้องอดทนฟัง ปล่อยให้เขาเล่าเรื่องให้จนจบ ถ้าสำคัญอัดเทป  ถ่ายวีดีโอ ยิ่งดี
   8.ไม่ขัดจังหวะ
   9.อยู่ในประเด็นจนกระทั่งผู้พูดพูดจบหรือสิ้นสุดความคิด
การใช้ภาษาสมอง เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ คนจะแสดงออกท่าทางตามจิตใต้สำนึก
   1.เคลื่อนไหวร่างกายเข้าจังหวะและควบคู่กันกับผู้ถูกสัมภาษณ์ซักถาม  เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความตกลงภายในจิตใต้สำนึก
   2.ใช้น้ำเสียง ความดัง จังหวะความเร็วของการพูดให้เข้ากันกับผู้ถูกสัมภาษณ์ซักถาม
เพื่อสร้างความเชื่อถือ  และไมตรีจิต
   3.มีอารมณ์ร่วมเพื่อแสดงให้เห็นว่าเข้าใจ
      - ทำท่าทางตามผู้พูด ใช้น้ำเสียง ลักษณะเหมือนผู้พูด จะทำให้ผู้พูดรู้สึกว่าเรา
เป็นเพื่อน  และจะยอมพูดความจริงกับผู้ฟัง  เกิดความเชื่อถือ  ไว้ใจ  ผูกพัน
      - ทดลองเลียนแบบบุคลิกภาพ ถ้าเราทำตามผู้พูดตลอด   แล้วลองเปลี่ยนทำท่าทางนำ  ถ้าผู้พูดทำตาม  แสดงว่าเรา  Control  เขาได้แล้ว  ลองซักถามเลย
การสื่อระหว่างบุคคล
   1.คำพูด                 7%
2.ไม่ใช่คำพูด           93%
                 - การเคลื่อนไหวร่างกาย   55%
    - น้ำเสียง         38%


การสื่อด้วยคำพูด



   (ถ้าอยากรู้  ลองอัดเทป  กรณีที่เราโกหก)

อาการทางพฤติกรรมแสดงออกทางร่างกาย


คนนั่งไขว้ขา กอดอก จะเป็นพวกคิดก่อนตอบ เป็นท่าทางป้องกันตนเองของมนุษย์ จะไม่พูดเรื่องเข้าตัว คนนั้นจะไม่ไว้วางใจเรา ไม่จริงใจ
ผู้หญิงที่นั่งไขว้ขา หรือหันข้างหรือมือเสยผม จะคิดว่าเราจีบเขา
อาการแสดงออกทางสายตา (Eye - Contact)
- หลบสายตา (ต่ำกว่า 40% ของการพูด)
- มองแบบเย็นชา
- เหนื่อยหน่าย ไม่แสดงความรู้สึก ไม่แสดงออกว่าเข้าใจ
- ไม่หลบตา และไม่จ้องเกินไป
- เปิดกว้าง
- ตั้งใจ ใส่ใจ
อาการทางพฤติกรรมแสดงออกทางการแต่งตั้ง
เพื่อลดความเครียด ความกังวล
- ดูมือ บิดมือ
- คุ้ยแคะ แกะเกา
- ลูบจมูก หู เสยผม
- เลียริมฝีปาก กลืนน้ำลาย
- กระแอมกระไอ ถอนใจ หาว
- เหงื่อออก ร้องไห้
- เคี้ยวหมากฝรั่ง กัดเล็บ
- จัดเสื้อผ้า
- ดึงด้าย เศษผ้า ปัดฝุ่น
- สำรวจนิ้วมือ เล็บ
ข้อจำกัดและข้อยกเว้นของอาการทางพฤติกรรม ใช้ไม่ได้กับคนที่
- สติปัญญา ของผู้ต้องหาหรือผู้ต้องสงสัย ฉลาดมากหรือโง่จนเกินไป
- ผู้มีอาการทางจิต หรืออารมณ์รุนแรง
- เด็กหรือเยาวชน ที่ขาดพัฒนาการในด้านความรับผิดชอบทางสังคม หรือขาดความกลัวผลลัทธ์ที่เกิดจากการกระทำผิด
- ตัวแปรทางวัฒนธรรม คือ บ้าอำนาจ บ้าลัทธิ บ้าศาสนารุนแรง
- สุรา ยาเสพติด
ท่าทางผิดปกติ คือ ท่าทางที่เกิดจากกลไกของสมอง 2 อย่างคือ
การจับพิรุธหรือจับเท็จ (Detection of Deception)
- สร้างความสัมพันธ์ ไมตรีจิต
- สังเกตอาการทางพฤติกรรมขณะที่พูดความจริง
-จับตาดูความเปลี่ยนแปลงของอาการทางพฤติกรรมขณะที่พูดเข้าประเด็นสำคัญ หรือตามคำถามสำคัญ (Key Questions)
- อย่าด่วนสรุปจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการเปลี่ยนแปลงอาการทางพฤติกรรมขณะที่พูด
เข้าประเด็นสำคัญ หรือถามคำถามสำคัญจริง
- การเปลี่ยนแปลงอาการทางพฤติกรรม ควรมีจำนวนมากพอ มิใช่เปลี่ยนแปลงเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
การเปรียบเทียบระหว่าง Interviewing กับ Intergation
Interviewing Intergation
- ผู้เสียหาย พยาน - ผู้ต้องหา ผู้ต้องสงสัย
- ไม่ต้องแจ้งสิทธิ์ - ต้องแจ้งสิทธิ์
- ข้อมูลไม่เจาะจง - ข้อมูลเจาะจง
- เรียกร้องน้อยกว่า - เรียกร้องมากกว่า
- ไม่เคร่งครัด - เคร่งครัด
- ซักถาม ณ ที่ทำการ หรือในสนาม - ซักถาม ณ ที่ทำการ
- เต็มใจพูด - ไม่เต็มใจพูด
โครงสร้างของการสัมภาษณ์ซักถาม (Structure of the Interviewing)
1. เตรียมการล่วงหน้า
2. แนะนำตัว อารัมภบท ใช้ภาษาที่คิดว่าเป็นพวกเดียวกัน
3. สร้างความสัมพันธ์ ไมตรีจิต ทำลายสิ่งกีดกั้นทางอารมณ์ พูดให้ดูลักษณะคน ใช้สรรพนามแทนกันให้เหมาะสม
4. ตั้งคำถาม ให้เขาเสียก่อน พอจบก็ถามสิ่งที่อยากรู้
5. ตรวจสอบ ขยายความข้อที่สงสัย ใช้วิธีช็อตโน๊ตสั้น ๆ อย่าใช้จด คนจะคิดว่าเราไม่สนใจฟัง
6. ถามให้ครบถ้วน
7. บอกลา ให้ชื่อที่อยู่ที่ติดต่อเรา ติดต่อเขา
8. วิจารณ์ การอัดวีดีโอไว้แล้วมาฉายดู วิจารณ์ตนเอง
การคุยกับผู้ต้องหา ต้องสืบหาความในใจให้ได้ก่อน แล้วพูดเป็นพวกกับผู้ต้องหาแล้วผู้ต้องหาจะยอมคุยกับเรา เป็นพวกเรา
สิ่งที่สำคัญที่สุดเรื่องในใจคน คือ เค้นเอาความในใจเขามาให้ได้ แล้วตอบสนองตามนั้น คนจะเป็นพวกเรา
- ต้องให้เขาก่อน แล้วถึงจะได้
- ต้องขจัดความกังวลเขาก่อน ถึงจะคุยกันรู้เรื่อง
การเตรียมการล่วงหน้า (Preparation)
1.ข้อเท็จจริง
- คดี
- ภูมิหลังของผู้ถูกสัมภาษณ์ซักถาม
- กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
2.ห้วงเวลา วิเคราะห์ว่าจะสอบสวนเวลาใด แล้วแต่ว่าสถานการณ์ใด พยานจะให้การได้ดีกว่ากัน
- หลังเกิดเหตุสด ๆ
- หลังเกิดเหตุผ่านมานานแล้ว
3.สถานที่
- สถานที่ฝ่ายเรา ควบคุมบังคับได้ดีกว่า
- สถานที่ฝ่ายตรงข้าม ผ่อนคลายมากกว่า และได้มุมมองจากด้านใน แต่อาจมีภัยคุกคาม
- สถานที่เป็นกลาง บางครั้งภัยคุกคามจะน้อยที่สุด
4.แผนการ ใครเป็นผู้สัมภาษณ์ซักถามกี่คน อาจมีการซักถามพยานคู่ เพื่อดูว่าใครพูดจริง พูดเท็จ
แนะนำตัว อารัมภบท
1.ชื่อ ตำแหน่ง
2.น้ำเสียง
สร้างสัมพันธ์ไมตรี
ลดความกังวลใจ
ตั้งคำถาม
1.คำถามปลายเหตุ ไม่ถามนำ ตามด้วยการฟัง
2.ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม อย่างไร
3.ถามเพื่อให้นึกได้
- สร้างสภาพแวดล้อม หาสิ่งเปรียบเทียบให้เขา เพื่อให้เขาคิดอยากได้ คิดถึงสิ่งที่ลืมได้ (สร้างแกน)
- บอกรายละเอียดทุกเรื่อง ทั้งที่สำคัญและไม่สำคัญ
- เปลี่ยนแปลงลำดับเหตุการณ์ เริ่มจากสิ่งที่จำได้ชัดเจนที่สุด
- เปลี่ยนมุมมอง
ตรวจสอบ ขยายข้อความที่สงสัย
- สร้างความเข้าใจที่ตรงกัน (ถามเน้นย้ำจุดที่คลุมเครือ ให้ตอบชัดเจนตรงกัน)
- เป็นโอกาสในการจดบันทึก
- ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ซักถามนึกทบทวน
การขยายความต้องเข้าใจมุมมองของผู้ที่พูดด้วยว่าเป็นอย่างไร เพราะต่างมุมมองนี้ต่างความเข้าใจที่ตรงกันในสิ่งของเดียวกัน
ถามให้ครบถ้วน
- คำถามเชิงสร้างสรรค์ "มีอะไรที่ผมลืมถามบ้างหรือเปล่า"
- คำถามเชิงรุก "มีอะไรที่คุณยังไม่ยอมบอก"
ควรใช้คำถามเชิงสร้างสรรค์ให้มาก
บอกลา
- สร้างความประทับใจที่ดี
- เปิดโอกาสให้สามารถติดต่อกลับได้
วิจารณ์
- ถ่ายวีดีโอ
- ตรวจสอบตัวเอง
องค์ประกอบในการสอบปากคำ
ต้องมีหลักฐานมากพอเพื่อดำเนินคดี หากคิดว่าผู้ถูกซักถามโกหก ต้องหาพยานเพิ่มก่อนแล้วจึงเริ่ม (พยานชี้ตัวอย่างเดียวขึ้นศาลเปอร์เซ็นต์หลุดมีมาก จากสถิติ)
1.แจ้งข้อกล่าวหา
- แจ้งข้อหา
- แสดงข้อเท็จจริง เหตุผล พยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อให้เห็นว่าการปฏิเสธเป็นเรื่องที่ไร้ประโยชน์
- สังเกตปฏิกิริยาของผู้ต้องหาหากปฏิเสธก็ให้แสดงข้อเท็จจริงและพยาน หลักฐานซ้ำ หากนิ่งเฉยแสดงว่ามีแนวโน้มผิดจริง ถ้าโมโหมากแนวโน้มไม่ใช่
2.บอกปัดคำปฏิเสธ
- ขัดจังหวะและป้องกันความพยายามที่จะบอกปฏิเสธ
- คนกระทำผิด ความพยายามในการปฏิเสธจะลดลง และผู้บริสุทธิ์ปฏิเสธมากขึ้น
- ไม่ให้พูดปฏิเสธบ่อยมากขึ้น
3.หาเหตุผลให้รับสารภาพ
- บอกผู้ต้องหาว่าทำไมเขาต้องก่ออาชญากรรม โดยใช้หลัก PRMs
Rationaliye หาเหตุผลเข้าข้างตนเอง
Project โทษผู้อื่น
Minimize ทำให้เป็นเรื่องเล็ก
- ให้เหตุผลที่ยอมรับได้กับผู้ต้องหาในการพูดความจริง
- อดทน ยืนหยัด ปลอดประโลม เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ
4.เบี่ยงเบนข้อประท้วง
- โดยทั่วไปผู้กระทำผิดจะประท้วง เชื่อการปฏิเสธใช้ไม่ได้ผล
- ข้อประท้วงมักมีพื้นฐานจากความจริง ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องโต้แย้งหรือหักล้าง
- นำข้อประท้วงมาปรับรวมเข้ากับเหตุผลเพื่อให้รับสารภาพ (อย่าไปสนใจ วนกลับไปข้อ 3 ข้างบน)
5.ป้องกันการคิดถอนตัว
- การคิดถอนตัวมักเกิดขึ้นหลังจากที่การปฏิเสธหรือการประท้วงไม่ได้ผล
- ขยับเข้าใกล้ บังคับให้ผู้ต้องหาฟัง
- แสดงความจริงใจ
6.เฝ้าดูอาการแสดงการยอมรับ
- โดยมากแล้วเป็นอาการที่แสดงออกตามธรรมชาติ
- สรุปข้อเหตุผลเพื่อให้รับสารภาพ
7.เสนอทางเลือก ดี/เลว
- ทางเลือกดี เป็นทางเลือกที่ยอมรับได้ ประกอบกับเหตุผลเพื่อให้รับสารภาพ
- ทางเลือกเลว เป็นทางเลือกที่โดยธรรมชาติไม่สามรถจะรับได้
- คนทั่วไปจะเลือกทางเลือกดี ให้สังเกตอาการยอมรับ เช่น การพยักหน้า
- หากยอมรับทางเลือกที่ดี ก็ให้รับสารภาพ
- หากไม่ยอมรับสารภาพ ให้เริ่มกระบวนการใหม่
การวิเคราะห์คำพูดหรือคำให้การ
เอามาจากการถอดเทปที่ยึดไว้ แล้ววิเคราะห์ว่าน่าเชื่อถือหรือเลอะเทอะ
- ขาดความมั่นใจในคำพูด เช่น คำว่าบางครั้ง บางครั้ง น่าจะ May be
ทั้งหลายชัดเรื่อย ๆ
- เรื่องเลอะเทอะที่ไม่อยากรู้
- จุดที่ไวยากรณ์ Tense ผิด
- การแทนนามของผู้พูดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนที่แสดงออก
- การเปลี่ยนแปลงคำเรียกหาบุคคลอื่น
- การแก้ไขคำพูด
- เปอร์เซ็นต์ระหว่างช่วงเวลาที่ให้ Balance กัน
- คนพูดจริง จะพูดช่วงก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ หลังเกิดเหตุ ในสัดส่วนที่
เท่า ๆ กัน ถ้าไม่ Balance กัน มีแนวโน้มปกปิดข้อเท็จจริงและเลอะเทอะ
ถ้าพูดให้การใดเข้าข้อข้างต้น จะขีดด้วยสี 1 สี แล้วนำมาวิเคราะห์ว่ามีสีใดมีมากเกินไป แสดงว่าเลอะเทอะ



   

เทคนิคการสืบสวน พล.ต.ต.คงเดช ชูศรี

วิธีการสืบสวน
การตรวจและรักษาสถานที่เกิดเหตุ / การตั้งประเด็นการสืบสวน
พล.ต.ต.คงเดช  ชูศรี  
   งานสืบสวน  คือ การแสวงหาข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน    คนที่จะเป็นนักสืบควรผ่านงานพื้นที่มาก่อนแล้ว และผ่านงานสอบสวนมาด้วย จึงจะเป็นนักสืบที่ดีได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
   1.ให้รู้เรื่อง  ทราบถึงเรื่องราว ความเป็นมาก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ
   2.ให้รู้ตัว   ว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด
   3.รู้วิธีการกระทำผิด
   4.รู้ว่า  สิ่งของที่ได้มา ได้ใช้หรือมีไว้ ของกลาง อาวุธ ยานพาหนะ ทรัพย์สิน เอกสารนั้นอยู่ไหน
   เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานไว้ในสำนวนการสอบสวนดำเนินคดี ติดตามจับกุมตัวผู้กระทำผิด หาของกลางคืนเจ้าทรัพย์
   เทคนิคและวิธีการสืบสวน  
1.การสัมภาษณ์และการซักถาม  
2.การใช้เครื่องมือจับเท็จ  
3. การตรวจสถานที่เกิดเหตุ  
4.การตรวจสอบจากแผนประทุษกรรม  
5.การหาข่าวจากประชาชนข้างเคียง  
6.การเยี่ยมเยียนสอบถามผู้เสียหายเพิ่มเติม      
7.การค้นหาข่าวและรายละเอียดจากแหล่งข้อมูลทั่วไป       
8.การตั้งประเด็นในการสืบสวนสอบสวน  
9.การใช้สายลับ  
10.การเฝ้าจุด (นั่งโป่ง)  และการสะกดรอย  
11.การดูลาดเลา  
ที่เกิดเหตุต้องไปหลาย ๆ ครั้ง  และพูดคุยหาพยานหลาย ๆ คน  หลากหลายกัน  และต้องฟังมากกว่าพูด  อย่าพูดชี้นำพยานก่อน
   การสืบสวนคดีความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย (สืบง่าย จับยาก)
1.   ประเด็นการสังหาร (ธุรกิจส่วนตัว ชู้สาว ล้างแค้นส่วนตัว ล้างหนี้พนัน )
2.   กลุ่มมือปืนรับจ้างรับงาน ต้องรู้ให้ได้ว่ากลุ่มใดเป็นผู้ลงมือ 
ปัญหาคือ  พยานไม่กล้ายืนยัน หรือไม่มีพยาน คนร้ายจะหลบหนีและข่มขู่พยาน หรือซื้อตัวพยาน โดยมีคนรับดำเนินการให้พยานไม่มาศาล หรือกลับคำให้การ เป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง
การสืบสวนคดีเกี่ยวกับทรัพย์
1.   ของเดิมที่มีอยู่ กลับหายไป มีทรัพย์ถูกโจรกรรม
2.   ของที่มันมีเพิ่มขึ้นมา เช่น หยดเลือด กระจกร้าว รอยเท้า ร่องรอยต่างๆ นำไปสุ่การพิสูจน์  ยืนยัน  รอยนิ้วมือ นิ้วเท้า

เทคนิคการสืบสวน พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน

กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับงานสืบสวน
พ.ต.อ.อำนวย  นิ่มมะโน  
จากผลการสำรวจวิจัยบทบาทที่ถูกต้องมากที่สุดคือ  “งานให้บริการแก่ประชาชน”
เพราะ   
1.ความไม่ชัดเจนในบทบาทหน้าที่                      งานตำรวจมีมากจนไม่แน่ใจว่า    
 เป็นงานของตำรวจหรือไม่
2.ถือเป็นงานที่มีความสำคัญรองลงมา                จึงไม่ตั้งใจทำจนถูกตำหนิ,    
 เราทุ่มแต่งานหลักคือ  ปราบปรามอาชญากรรมมากกว่างานบริการจนถูกตำหนิ

ตาม พ.ร.บ.ตำรวจ 2547  งานในหน้าที่ตำรวจสามารถแยกแยะได้ดังนี้
   1.รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
        -  สายตรวจ
        -  ตชด. 
   2.อำนวยความยุติธรรมในทางอาญา                     สอบสวน, สืบสวน
   3.บำบัดทุกข์  บำรุงสุข  ให้กับประชาชน                     ครอบจักรวาล
   4.การให้บริการแก่ประชาชน                                     งานจราจร  งานทะเบียน
งานที่ถูกตำหนิเป็นอันดับสอง   “งานอำนวยความยุติธรรมทางอาญา”  เพราะ
      1.มีการละเมิดศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์   การตรวจกัน  จับกุม  คุมขัง  
 สอบสวน  ลักษณะงาน
       2.บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติ  โดยเฉพาะตำรวจฝ่ายสืบสวนสอบสวนเป็นหลัก
เหตุที่ทำงาน ตร.ยุคปัจจุบันทำงานยากกว่าอดีต  เนื่องจาก
   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540
“ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์” (ม.28)  
        สิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐจำต้องให้ความคุ้มครอง                       คือศักดิ์ศรีมีความเป็นมนุษย์
- ชีวิตร่างกาย   
- เสรีภาพ
- ชื่อเสียง
- ทรัพย์
รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้จึงบัญญัติคุ้มครองไว้
1.คุ้มครองด้าน “ชื่อเสียง”
     ม.34 สิทธิของบุคคลในครอบครัว  เกียรติยศ  ชื่อเสียงหรือความเป็นอยู่ส่วนตัว
ย่อมได้รับความคุ้มครอง จะละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ  ศักดิ์ศรีหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน
   2.คุ้มครอง  “เสรีภาพ”
     การตรวจค้น  เพื่อพบและสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิด    หรือได้ใช้ในการ
กระทำผิด   หรือมีไว้เป็นความผิด
        1.  ค้นตัว         
        2.  ค้นบ้าน            
     การออกตรวจค้น    เดิมตำรวจออกหมายค้นเอง   ใหม่  ขอหมายค้นจากศาล
        การจับ  เพื่อเอาตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
       ตำรวจออกหมายจับเอง  (เดิม)

   ขออนุมัติกระทรวงมหาดไทยก่อนออกหมายจับ

           ขอหมายจับจากศาล (ปัจจุบัน)
              จับโดยไม่ต้องมีหมายจับ         ความผิดซึ่งหน้า

การสอบสวน  คือ  การรวบรวมพยานหลักฐาน   เพื่อพิสูจน์ความผิด    และ
เอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ
         เดิม      พนักงานสอบสวน
         ปัจจุบัน      มีผู้อื่นมาฟังการสอบสวน
               เด็ก มีสหวิชาชีพร่วมถามปากคำเด็ก
        ในการสอบสวน          พนักงานสอบสวนจะเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาอ้างพยาน
หลักฐานต่อสู้คดีเต็มที่
    การควบคุม  เป็นการควบคุมตัวผู้ต้องหา ไว้สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน
โดยอำนาจของตำรวจ
        ควบคุมไว้ที่ สน.              7   วัน (เดิม)

               3  วัน

               48  ชั่วโมง   (ปัจจุบัน)
        ตัวเป็นเด็ก         24   ชั่วโมง
   สาเหตุที่เปลี่ยน กม.  เนื่องจากรูปแบบกระบวนการยุติธรรมไทยได้เปลี่ยนไป
รูปแบบกระบวนการยุติธรรมชั้นตำรวจ   จากรูปแบบเดิม                      ปัจจุบัน
   1.Crime  Control  Model  (รูปแบบควบคุมอาชญากรรม)  กฎหมายตามหลัง
   2.Due Process Model (รูปแบบหลักนิติธรรม - บังคับเชิง กม.อย่างเคร่งครัด) สนใจ กม.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนเป็นหลัก
   3.Restoration  Justice  Model   (รูปแบบเชิงสมานฉันท์ –    แบบใหม่ที่ไม่มุ่งลงโทษ   ใช้การไกล่เกลี่ยประนีประนอม    ให้คดีไม่ถึงศาล – โดยใช้คณะกรรมการ       ไกล่เกลี่ย
   - หลักรัฐธรรมนูญ 2540 แบบที่ 2  นำ แบบที่ 1 ตาม
   - การค้นตามรัฐธรรมนูญ ม.238  เริ่มบังคับใช้วันที่  11 ต.ค.2540 
   - เรื่องแนวทางปฏิบัติของตำรวจ  เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และคลุมเครือ   :    ให้ระวังต้องศึกษาข้อกฏหมายให้ชัดเจน
3.คุ้มครอง ‘ทรัพย์”                   การค้น
4.คุ้มครอง  “เสรีภาพ”                                   การจับ
   รัฐธรรมนูญ ม.237  การจับและคุมขังบุคคลใดจะกระทำมิชอบ   เว้นแต่จะมีหมายศาล  หรือโดยกระทำผิดซึ่งหน้าหรือจับโดยเหตุอื่นตามกฎหมายบัญญัติ  โดยไม่ต้องมีหมาย  ซึ่งต้องอ้างเหตุจำเป็น
   -  ศาล + ตำรวจ + ยุติธรรม    พิจารณาร่วมกันร่างระเบียบราชการว่าด้วยแนวปฏิบัติในการออกหมายจับและหมายค้น  ผลการจับ
    สรุปการค้น ป.วิ ม.78
   -  จับความผิดซึ่งหน้า  จับได้  ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
     -  ตามอนุอื่นยังคลุมเครือ (2), (3)  ส่วนอนุ (4)  ชี้ให้จับยกเลิกไป

เทคนิคการสืบสวน พล.ต.ท.จักรทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา

กฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนจับกุม
พล.ต.ท.จักรทิพย์  กุญชร ณ อยุธยา

การค้นต้องมีหมายศาลเท่านั้น  ยกเว้นค้นโดยไม่มีหมายได้  ในกรณีข้อยกเว้นตามกฎหมายกำหนด  คือ
1.เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน
2.ปรากฏความผิดซึ่งหน้า  กำลังกระทำในที่รโหฐาน
3.เมื่อบุคคลที่ให้กระทำผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไป หรือมีเหตุอันแน่นแฟ้น ควรสงสัยว่าได้เข้าไปหลบซ่อนตัวในที่รโหฐาน
4.เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่า  สิ่งของที่ได้มาเป็นการกระทำผิด
5.เมื่อผู้ถูกจับมีหมายจับ
ป.วิ.อาญา  มาตรา 78
   จะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับไม่ได้  เว้นแต่
   1.เมื่อบุคคลนั้นกระทำผิดซึ่งหน้าดังบัญญัติไว้ในมาตรา 80
   2.เมื่อพบบุคคลนั้นกำลังพยายามกระทำความผิดหรือพบโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะกระทำความผิด  โดยมีเครื่องมือ  อาวุธ  หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำผิด
   3.เมื่อมีเหตุอันสมควรว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดมาแล้ว  และจะหลบหนี
ป.วิ.อาญามาตรา 80
   ความผิดซึ่งหน้า  ได้แก่  ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำหรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ
   อย่างไรก็ดี ความผิดอาญาดั่งระบุไว้ในบัญชีท้าย ป.อาญา  ซึ่งให้ถือว่าความผิดนั้นเป็นความผิดซึ่งหน้า  ในกรณีดังนี้
   1.เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับ  ดั่งผู้กระทำโดยมีเสียงร้องดังเอะอะ
   2.เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใด     หลังจากการกระทำผิดในแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้น  และมีสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิดหรือมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่น  อันสันนิษฐานได้ว่าได้ใช้ในการกระทำผิด  หรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น

เทคนิคการสืบสวน พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม

แนวคิดในระบบงานการสืบสวน
                     พล.ต.ท.สมคิด   บุญถนอม
อาชญากรรมทุกประเภทไม่มีสมบูรณ์แบบ  ต้องมีการทิ้งร่องรอยพยานหลักฐานไว้เสมอ  ทั้งก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ  และหลังเกิดเหตุ
ขั้นตอนกระบวนการสืบสวนคดีสำคัญ            
การสืบสวนจากที่เกิดเหต
   -การตรวจสถานที่เกิดเหตุ  อย่าใจร้อนให้ตรวจให้ละเอียด
   -ให้ความสำคัญกับการรักษาสถานที่เกิดเหตุ
   -ติดตามสอบถามพยานในที่เกิดเหตุ และพยานแวดล้อมแห่งคดี
   -ใช้ศิลปะในการซักถาม ตลอดจนใช้ปฏิภาณไหวพริบ
   -ค้นหาพยานวัตถุและของกลางโดยใช้วิทยาการเข้าช่วย
การวางแผนการสืบสวน
   -รวบรวมข้อมูลจากที่เกิดเหตุ
   -ตั้งประเด็นในการสืบสวน (ตั้งสมมุติฐาน)
   -สร้างเหตุการณ์จำลอง
   -วิเคราะห์ข้อมูลและพยานหลักฐาน
   -กำหนดแนวทางการสืบสวน แบ่งหน้าที่ ภารกิจ
   -สืบสวนหาพยานหลักฐานและของกลาง
   -ประสานงานกับเจ้าหน้าที่วิทยาการหาข้อมูลเพิ่มเติม
   -การเฝ้าจุด,สะกดรอย,การเฝ้าฟัง
การวางแผนการจับกุม
   -เตรียมความพร้อม ทีมงาน อุปกรณ์ ยานพาหนะ
   -แบ่งหน้าที่ ซักซ้อมการปฏิบัติ จำลองจากสถานการณ์ จริง
   -ประสานงานฝ่ายสอบสวน  ส่งมอบพยาน ของกลาง
   -การวิเคราะห์การจับกุม ควรจับแบบปิดหรือเปิด  ควรจับใครก่อน
   -หาของกลาง และพยานที่เกี่ยวข้องเสริมพยานหลักฐานในคดี
   -พิจารณาข้อกฏหมาย วางแผนขอหมายค้น หมายจับ
   -ใช้ศิลปะการซักถามพยาน ผู้ต้องหา
การดำเนินการจับกุม
   -การเฝ้าจุด สะกดรอย
   -พิจารณาความเกี่ยวข้องในคดี การแจ้งข้อกล่าวหาแต่ละคน
   -ศิลปะการจับกุม เฝ้าจุด รอคอย

                                                 

เทคนิคการสืบสวน พล.ต.ต.ศรกฤษณ์ แก้วผลึก

หลักการสืบสวน
พ.ต.อ.ศรกฤษณ์  แก้วผลึก
     งานสืบสวน  เป็นธรรมชาติประการหนึ่งของมนุษย์ที่มีความอยากรู้อยากเห็น    การสืบสวน สามารถมองพฤติการณ์ เหตุการณ์  ได้หลากหลายมุมมอง  ต้องยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างได้
หลักประการสำคัญในการสืบสวน
   1.ต้องพยายามรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคดีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  โดยวิธี
5W 1H  (ใคร ทำอะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร  ทำไม )
ข้อมูล  แบ่งออกเป็น  2 ชนิด
   1.  ข้อเท็จจริง
   2.  ข้ออนุมาน
การสืบสวน  การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานทั้งปวง

ทฤษฎี "ระบบ"      
                                                                                                                    
               Input ----)  Process ----)  Output ----)  Feedback
        
เมื่อนำมาเทียบกับการสืบสวน

       คดีเกิดขึ้น  ----) กระบวนการสืบสวน ----) จับกุมคนร้ายได้ ----) ผลคดี/ประสบการณ์

กระบวนการสืบสวน คือ สิ่งสำคัญที่สุด และกระบวนการสืบสวนต้องนำเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการสืบสวนด้วย

เทคนิคการสืบสวน พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์

เทคนิคการสืบสวน
พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์  ฉายาพันธุ์
              “งานสืบสวนเป็นการค้นหาความจริงภายใต้กติกาของกฏหมาย “
   ปรัชญาการสืบสวน คือ การค้นหาความจริง โดยไม่เบี่ยงเบน โดยวิธีใดๆ
ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้อยู่ในกรอบของกฏหมายจะมีผลตามมา
   1.เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาทุกคนจะเอาตัวรอด  ผู้ปฏิบัติจะได้รับความเดือดร้อน
   2.ในสายตาประชาชนเจ้าหน้าที่ตำรวจคือผู้ร้าย จะไม่ได้มวลชน
   3.เวรกรรมจะติดตามตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัตินอกกรอบของกฏหมาย
วิธีการสืบสวน  แนวทางวิเคราะห์
   1.  การตรวจสถานที่เกิดเหตุแบบบูรณาการณ์        ต้องมองให้สถานที่เกิดเหตุบอกเราได้ถึง
สภาพก่อนเกิดเหตุ     ขณะเกิดเหตุ      และหลังเกิดเหตุ
-  การตรวจสถานที่เกิดเหตุ จะต้องดูโดยภาพรวม ไม่แยกดูแต่ละส่วน    และจะต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในสถานที่เกิดเหตุเป็นอย่างไร ถึงจะนำไปสู่แนวทางการสืบสวน ซึ่งเรียกว่าที่เกิดเหตุพูดได้
-  ถ่ายภาพสถานที่เกิดเหตุ โดยจะต้องมีความรู้พอสมควร และจะต้องเก็บรายละเอียดในที่เกิดเหตุทั้งหมด
-  ปิดกั้นสถานที่เกิดเหตุ และไม่ทำลายสถานที่เกิดเหตุ  ถ่ายภาพสถานที่เกิดเหตุ – สเก็ตที่เกิดเหตุ และแช่แข็งที่เกิดเหตุ ( ปิดที่เกิดเหตุตรวจสอบและวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน )  เข้ามาอย่างไร – เกิดอะไรขึ้นขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุคนร้ายหลบหนีไปที่ใด
ลักษณะของคนร้ายแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1.   ฆาตรกร ( Murderer )
2.   ฆาตรกรต่อเนื่อง  ( Serial killer )
3.   ฆ่าเพื่อความบันเทิง ( Spree killer )
4.   ฆ่าคนจำนวนมาก  ( Mass murder )
2.   ภูมิศาสตร์ด้านอาชญากรรม      จะบอกทิศทางของคนร้ายว่ามาจากที่ใด  และเมื่อเกิดเหตุแล้วน่าจะหลบหนีไปที่ใด
3.  การวิเคราะห์พฤติกรรมของคนร้าย    ว่าคิดอย่างไร เพื่อหามูลเหตุจูงใจในการกระทำผิด
4.  การวิเคราะห์ข้อมูลในการสืบสวน วิเคราะห์ข่าว
5.   การอำพราง  คือการสร้างเรื่องเพื่อป้องกันงานด้านสืบสวน
การซักถามปากคำ ผู้กล่าวหา ผู้ต้องหา พยาน
   -เริ่มต้นจากการทำลายกำแพงความรู้สึกโดยการแสดงความเป็นพวกเดียวกับเขา  สร้างความคุ้นเคยต่อกัน
   -ตรวจสอบว่าความรู้สึกของเขาเป็นพวกเดียวกับเราหรือไว้ใจเราหรือยังให้ลองขยับตัวเข้าใกล้แต่ไม่ต้องสัมผัสตัวเขา  หากเขาไม่ถอยหนีแสดงว่าเขาเริ่มมีความไว้ใจเรา
   -ทำลายเกราะป้องกันของเขา โดยเฉพาะพวกที่เป็นบุคคลในเครื่องแบบเช่น ครู หมอ ให้เรียกดึงความรู้สึกเขาลงมาหาเราโดยใช้สรรพนามแทนตัวเขาว่า “คุณ”
   -เขาจะบอกความจริงแก่เราเมื่อเขาไว้ใจเรา


                                              ยาเสพติดช่อนอยู่ไหน

เทคนิคการสืบสวน พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรักษ์

หลักทั่วไปในการสืบสวน
พล.ต.ท.วรรณรัตน์  คชรักษ์

             หน้าที่โดยหลักแล้วของตำรวจ    คือ   การป้องกันปราบปราม และจับกุมตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดี  รับโทษตามกฎหมาย  ซึ่งเกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนโดยตรง    ปัจจุบันตำรวจได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่หลายด้านด้วยกัน       ทำให้ปัจจุบันความเข้มข้นในการสืบสวนติดตามจับกุมตัวผู้กระทำความผิด ลดหย่อนประสิทธิภาพลง       ซึ่งมีหลายคดีที่เกิดเหตุแล้วไม่สามารถจับกุมตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายได้   และเมื่อเกิดเหตุแล้ว   ไม่สามารถจับกุมตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้นั้น เสมือนเป็นการเพาะเชื้อร้ายของอาชญากรรม     จากอาชญากรรมเล็กน้อย กลายมาเป็นอาชญากรรมขั้นสูงซึ่งร้ายแรงกว่าต่อไป   เพราะฉะนั้นจะต้องมีการพัฒนางานด้านงานสืบสวนให้มีประสิทธิภาพเพื่อนำไปสู่การจับกุมตัวผู้กระทำความผิด    ซึ่งหลักสูตรการสืบสวนคดีอาญาจะสามารถทำให้บุคคลากรมีความรู้ความสามารถเพื่อนำไปใช้ในอนาคต       และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ      แต่ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนจะต้องตระหนักว่า       ปัจจุบันมีองค์กรต่างๆ มากมายที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของตำรวจ เช่น องค์กรเอกชน ( NGO ) ต่างๆ รวมทั้งองค์กรสิทธิมนุษยชน          และคณะกรรมการต่างๆ
   เพราะฉะนั้นงานด้านสืบสวนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญเฉพาะด้านอย่างแท้จริง  และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนจะต้องมีคุณลักษณะพื้นฐานดังต่อไปนี้คือ
   1.  มีใจรัก    มีความสนใจในงานด้านสืบสวนอย่างแท้จริง และมีความกระตือรือร้นพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลา ซึ่งจะต้องทำใจให้ได้
   2.  มีความอดทน
   3.  มีความเสียสละ
   4.  ซื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
   5.  ไม่เป็นคนโอ้อวด  ขี้คุย
   6.  มีความมุ่งมั่น ตั้งใจสูง  เช่น  ถ้าจับคนร้ายไม่ได้ไม่ยอมกลับ
   7.  ต้องไม่มีโรคประจำตัว ที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน
   8.  ต้องไม่มีปัญหาครอบครัว  ถ้ามีอย่าเอาปัญหาต่างมายุ่งกับงาน จะต้องแบ่งแยกให้ได้
   9.  มีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ และกฎหมายอื่นที่สำคัญ  เช่นกฎหมายอาญา, วิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายรัฐธรรมนูญ
   10.  มีความรู้ในงานพิสูจน์หลักฐาน และนิติวิทยาศาสตร์  เช่น ศพ, การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
   11.  ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เช่น ศาล ,อัยการ, เรือนจำ ,ไปรษณีย์ ฯลฯ
   12.  รักษาความลับ    ซึ่งสิ่งไหนควรเปิดเผยได้ และสิ่งไหนไม่ควรเปิดเผย
   13.  พัฒนาตัวเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของอาชญากรรมทุกรูปแบบอยู่ เสมอ
การเตรียมความพร้อมในการเป็นนักสืบ
1.   จะต้องมีห้องปฏิบัติการในการสืบสวน   ซึ่งจะต้องเป็นส่วนตัว ป้องกันความลับต่อบุคคลภายนอก  และสื่อมวลชนได้
2.   คัดเลือกผู้ใต้บังคับบัญชา   ที่มีความรู้ความชำนาญและที่เหมาะสมกับงาน และต้องมีคำสั่งจากหัวหน้าหน่วยงานที่ถูกต้อง
3.   เครื่องมือ  เครื่องใช้  สำหรับใช้ปฏิบัติงาน เช่น  กล้องถ่ายรูป, กล้องวีดีโอ, กล้องส่องทางไกล, เทปอัดเสียง   ต้องมีความพร้อม
4.   มีคอมพิวเตอร์ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานด้านข้อมูล
5.   อาวุธ  เช่นอาวุธปืนที่ใช้จะต้องมีความรู้ และความชำนาญ
6.   มีภาวะผู้นำ    สามารถกระตุ้นผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความกระตือรือร้นร่วมมือร่วมใจในการทำงาน  ได้ด้วยกัน  เสียด้วยกัน  อย่างเอาเปรียบลูกน้อง  ต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผู้อื่น   รวมถึงการซื้อใจผู้ใต้บังคับบัญชา
7.   ความดี ความชอบ  เมื่องานเสร็จแล้ว จะต้องร่วมรับความชอบด้วยกัน มีการรายงานผลการปฏิบัติของทีมงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบให้ทั่วถึงรวมถึงลูกน้องด้วย  อย่าเอาดีแต่ตัวเอง หากมีโอกาสจะต้องให้ลูกน้องผู้นำความสำเร็จมาสู่งาน ได้เข้าพบผู้บังคับบัญชา ซึ่งจะทำให้ลูกน้องเกิดความภาคภูมิใจ แต่จะต้องขออนุญาตผู้บังคับบัญชาก่อน “อย่าเก่งคนเดียว ต้องทำงานเ ป็นทีม”
8.   ฝึกลูกน้องให้มีความชำนาญเฉพาะด้าน  เช่น เรื่องยาเสพติด, มือปืนรับจ้าง, ทรัพย์สินหายซึ่งจะมอบหมายพื้นที่รับผิดชอบ ,มอบหน้าที่ในการทำงาน, และความรับผิดชอบในการทำงานของแต่ละคน ให้ลูกน้องมีความรู้สึกถึงการมีความรับผิดชอบในงานนั้นๆ
9.   มีข้อมูลท้องถิ่น   ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากในการทำงานด้านสืบสวน
10.   เมื่องานสำเร็จแล้ว จะต้องให้ลูกน้องได้พักผ่อนตามสมควร    
วิธีปฏิบัติในการสืบสวน  
1.   ทุกคดีจะต้องออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ ไม่ว่าช้าหรือเร็วจะต้องออกไปดูให้ได้
2.   จะต้องไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ  เกี่ยวกับคดีหากไม่มีอำนาจหน้าที่ และอย่าด่านสรุปใดๆ แห่งคดีในสถานที่เกิดเหตุ  หรืออย่าพูดชักนำก่อนที่จะได้รวบรวมและสรุปผลการสืบสวนแล้วนั้น  และอย่าวิจารณ์ต่อหน้าคนอื่น
3.   ถ่ายภาพสถานที่เกิดเหตุ และตรวจร่องรอยในสถานที่เกิดเหตุ
4.   รายงานเหตุให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับทราบโดยเร็ว
5.   การเก็บ หรือ พบอะไรในสถานที่เกิดเหตุจะต้องรวบรวมเข้าในสำนวนการสอบสวนโดยเร็ว อย่าเก็บไว้นานเป็นอันขาด และจะต้องทำบันทึกการตรวจพบไว้
6.   เอกสารใดเกี่ยวกับคดี  เช่น บันทึกจับกุม ,บันทึกการตรวจค้น , คำให้การคดีต่างๆ ที่ตนเองเป็นผู้กล่าวหา หรือพยาน เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในการขึ้นพิจารณาในชั้นศาล และยืนยันไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงเอกสารโดยพลการ
วิธีการสืบสวน    
   1.  สืบสวนก่อนเกิดเหตุ    วัน  เดือน  ปี  ก่อนเกิดเหตุเป็นอย่างไร เช่น ที่มาของอาวุธ และยานพาหนะ  และสถานที่ที่วางแผนและเกี่ยวข้อง
   2.  ขณะเกิดเหตุ    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร และมีผู้ร่วมกระทำความผิดอย่างไรบ้าง
   3.  หลังเกิดเหตุ    คนร้ายหลบหนีไปที่ใด ทรัพย์สิน และอาวุธของคนร้ายอยู่ที่ใด
ข้อคิดเตือนใจ และข้อแนะนำ
   -  เวลามีคดีสำคัญ หรือ คดีใดๆ   ห้ามมองคนร้ายเป็นศัตรู ห้ามโกรธผู้ร้าย ซึ่งจะทำให้เราเกิดความลำเอียงได้
   -  อย่าจับเพื่อหาพยานหลักฐาน   จะต้องหาพยานหลักฐานก่อนที่จะจับกุมตัว
   -  ไม่มีคดีใดที่จะสืบสวนจับกุมตัวผู้กระทำผิดไม่ได้  เว้นแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น

ก่อนที่จะเกิดบล็อกนี้ขึ้นมา