วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการสืบสวน พ.ต.อ.ดร.เศนิต สำราญสำรวจกิจ

ข้อมูลที่ใช้ในการสืบสวน
พ.ต.อ.ดร.เศนิต สำราญสำรวจกิจ
1.การบริหารงานสืบสวน
กระบวนการบริหาร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
1.การวางแผนปฏิบัติงาน การทำงานทุกอย่างต้องคิดก่อนทำงาน วางแผนก่อนว่าจะทำอะไร ต้องดูนโยบายของนายเป็นหลัก แล้วคิดหางานทำตามนโยบาย
2.การปฏิบัติตามแผน
3.การติดตามและประเมินผล
การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การติดตามประเมินผล
ทบทวน/ปรับปรุง
ทักษะที่ต้องใช้
1.ทักษะพื้นฐานทางด้านเทคนิคการสืบสวนทั้งหมด ได้แก่ ต้องรู้ ต้องเป็น
2.ทักษะทางมนุษยสัมพันธ์ ต้องปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานข้างเคียง เช่น โทรศัพท์
ทะเบียนราษฎร์ ถ้าจะได้ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กันเป็นการส่วนตัว เราจะขอข้อมูลได้ง่าย
3.เทคนิคทางด้านความคิด
1.การวางแผน
- การทำงานต้องมีการคิดก่อนทำงานว่า นโยบายหน่วยเหนือจะเป็นอย่างไร ต้องคิดแผนการทำงานตามนโยบาย
- ต้องรู้ข้อมูลลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน ต้องรู้ประวัติส่วนตัว ของเขา เข้าใจเขา ต้องของบประมาณจากผู้บังคับบัญชา โดยก่อนออกปฏิบัติต้องวางแผนขอคน งบประมาณการจัดการ อุปกรณ์การทำงาน
- ข้อมูลการสืบสวน ได้แก่ นาฬิกาอาชญากรรม สถิติคดีอาญา 5 กลุ่ม สถิติเปรียบเทียบคดีอาญาของแต่ละปี แผนประทุษกรรม
2.การปฏิบัติตามแผน เริ่มตามที่ได้วางแผนไว้
3.การติดตามประเมินผล
- ตามดู ประกบตามทุกขั้นตอนว่าลูกน้องไปทำจริงมั้ย ตั้งใจทำจริงมั้ย ต้องหลอกบ้าง ทดสอบบ้างว่าไปจริงหรือไม่จริง
- การปฏิบัติบรรลุผลหรือไม่
2.ความสำคัญของข้อมูล
"รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง"
- เราต้องรู้พื้นที่รับผิดชอบของเรา ต้องไปเดินดูพื้นที่ว่าแผนที่ สำรวจ หาข่าวต่าง ๆ ว่าจุดใดอยู่ที่ใด
- คนทำงานหรือนายก็เหมือนกัน เราต้องศึกษาดูว่านายแต่ละคนเกิดวันเดือนปีใด ชอบสิ่งใด ไม่ชอบสิ่งใด เราต้องหาข้อมูล ศึกษาและทำในสิ่งที่ชอบ
- พื้นที่เป้าหมายที่จะเข้าค้น ต้องรู้ข้อมูล ศึกษาเอาไว้
- การตัดสินใจที่ดี ขึ้นอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ดี
ข้อมูล แบ่งได้ดังนี้
1.ข้อมูลก่อนเกิดเหตุ ในท้องที่มีสิ่งใดบ้าง อยู่จุดใด มีใครเป็นเจ้าของ สถานที่ แล้วเข้าไปศึกษาเก็บข้อมูลไว้
2.ข้อมูลหลังเกิดเหตุ
ข้อมูลที่ดี
- ถูกต้อง ผ่านการเช็คแล้วเช็คอีก
- ทันสมัย Update อยู่ตลอดเวลา
- เชื่อถือได้ ใครเข้ามาตรวจสอบก็ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด
- รวดเร็ว หาง่าย
เมื่อไปอยู่ในพื้นทื่ทำอย่างไร เราถึงจะได้ข้อมูลได้มากที่สุด เร็วที่สุด ต้องคิดว่าจะใช้เทคโนโลยีใด
หน่วยงานที่สนับสนุนข้อมูล
1.สำนักงานบริหารการทะเบียน ได้แก่ ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ บุคคล
2.ทว. ได้แก่ แผนประทุษกรรม
3.พฐ. ได้แก่ การตรวจพิสูจน์ร่องรอยหลักฐานทางคดี
4.นิติจิตเวช ได้แก่ ประวัติการรักษา
5.องค์การโทรศัพท์ ได้แก่ ที่อยู่ ชื่อ
6.ประกันสังคม ได้แก่ ข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ การทำงาน
7.Bank
8.อัยการ ได้แก่ ผลคดี ประวัติบุคคล
9.ศาล ได้แก่ ผลคดี
10.ราชทัณฑ์ ได้แก่ บุคคลต้องโทษ พ้นโทษ พักโทษ
11.สถานพยาบาล ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ คนไข้ ประวัติการรักษา
12.การท่าอากาศยาน ได้แก่ ตรวจชื่อคนเข้าออก ข้อมูลการเงิน การท่ามีวงจรปิดทั้งสนามบิน
13.หน่วยงานเอกชน เช่น
- ธนาคาร - บัตรเครดิต
- ผู้ให้บริการโทรศัพท์/การสื่อสารต่างประเทศ - ห้างสรรพสินค้า
- บริษัทประกันภัย - seven eleven
- โรงแรม อพาร์ทเมนท์ คอนโดมิเนียม - Finance
- โรงเรียน สถานศึกษา - สื่อมวลชน
- โรงงาน - ปั๊มน้ำมัน
- สถานบริการ - AEON
- โรงรับจำนำ/รับคืนของเก่า - ร้านทอง
- ร้านจำหน่ายสินค้าประเภท Dilivery
14.กรมการขนส่งทางบก
15.กรมที่ดิน
16.ไปรษณีย์
17.กรมทะเบียนการค้า
18.ศปร.น.
กรณีคดีลักทรัพย์ ควรมีข้อมูลอะไรบ้าง
1.แผนที่สังเขป
2.เส้นทางเข้าออกของคนร้าย
3.ลายนิ้วมือ นิ้วเท้าแฝง
4.รอยเท้า เศษวัสดุต่าง ๆ เช่น โคลน ดิน เศษด้าย
5.ทรัพย์สินที่สูญหายและตำหนิรูปพรรณ
6.ข้อมูลคนในบ้านที่เกิดเหตุ
7.ร่องรอยการงัดแงะ
8.ข้อมูลที่มีการเข้าออกของบุคคลภายนอก
9.วันเวลาที่เกิดเหตุ
10.ประจักษ์พยาน/พยานแวดล้อม
11.สิ่งของคนร้ายที่คาดว่าอาจตกอยู่ในที่เกิดเหตุ
12.แผนประทุษกรรม
13.ข้อมูลร้านขายของเก่า/โรงรับจำนำ
14.ทรัพย์สินที่สูญหายไปมีประกันภัยหรือไม่
15.ตรวจสอบบุคคลต้องสงสัย สถานที่ต้องสงสัยใกล้เคียง
16.ตรวจสอบบุคคลย้อนหลังที่อาศัยบ้านที่เกิดเหตุ
17.สอบปากคำบุคคลภายในบ้านทั้งหมด
เหตุฆาตกรรมด้วยอาวุธปืน ณ อาคารคอนโดฯแห่งหนึ่ง ข้อมูลใดบ้างที่ต้องให้ความสนใจ
วางแผนที่เกิดเหตุ
1.ศพ
- ลักษณะท่าทางการตาย การแต่งกาย
- บาดแผน ทิศทางเข้า-ออก กระสุน ร่องรอยการต่อสู้
- หาเวลาตาย
- รอยเลือด หยดเลือด การกระเซ็นโลหิต
- ชื่อ สกุล ประวัติผู้ตาย งาน
- ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท
- กิจวัตรประจำวัน ทำอะไรก่อนตาย ติดต่อใคร
- เขม่าดินปืน
2.สถานที่เกิดเหตุ
- บ้านเลขที่
- เจ้าของ/ผู้ที่อาศัย/คนเข้า-ออก
- หมายเลขโทรศัพท์/มือถือ
- ข้อมูลห้องข้างเคียง และซักถาม
- แผนที่สังเขป
- กล้องวงจรปิด
- รปภ./การเข้า-ออก/คน
- เอกสารภายในห้อง/บัญชีธนาคาร การตรวจสอบอาวุธปืน/ลูกกระสุน
- ทรัพย์สินที่สูญหายไป
3.ปืน
- ข้อมูล ชนิด ขนาด ทะเบียน
- ปลอกกระสุน หัวกระสุน
- หัวกระสุนในศพและที่เกิดเหตุ
- ผู้ครอบครอง
- เขม่าดินปืน
4.พยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ
- ลักษณะการตาย การต่อสู้
- รอยเลือด หยดเลือด การกระเซ็นเลือด
- รอยมือ รอยเท้าแฝง ร่องรอยแฝงอื่น
- เศษวัสดุแปลกปลอม
- ร่องรอยงัดแงะ
- ทรัพย์สินเสียหาย
- พยานข้างเคียง รปภ.
- ขยะ เอกสาร สิ่งของในห้อง
- แผนประทุษกรรมที่เคยเกิดขึ้น
- หาพยานบุคคลใกล้เคียงและสอบปากคำ
ข้อมูลที่ควรมีในห้องปฏิบัติการสืบสวน
1.ข้อมูลท้องถิ่น
- รายชื่อผู้นำชุมชน/หมู่บ้าน
- บัญชีสถานบริการ/โรงแรม/บัญชีรายชื่อลูกจ้าง
- บุคคลต่างด้าว
- บุคคลสำคัญ เช่น สส., สว.
- สถานที่ราชการที่สำคัญ
- ข้อมูลผู้มีอิทธิพล
- บัญชีโรงรับจำนำ/ร้านรับซื้อของเก่า
- บัญชีผู้ซ่อมรถ
2.ข้อมูลทางคดี
- หมายจับ แยกตามประเภทคดี
- แผนประทุษกรรม
- บัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้าย
- สมุดภาพคนร้าย
- ประวัติผู้ต้องหา
- ประวัติผู้ต้องสงสัย
- บัญชีผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
- ข้อมูล ศปร.
3.ข้อมูลอื่น ๆ
- นาฬิกาอาชญากรรม
- ตารางเปรียบเทียบคดีอาญา 5 กลุ่ม
- รายชื่อ เบอร์โทร. ผู้ปฏิบัติ/หัวหน้า
- คำสั่งมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ
- รายงานประจำวัน
- รายงานการสืบสวนคดีต่าง ๆ
- แฟ้มข่าวอาชญากรรม
- แผนที่แสดงพื้นที่รับผิดชอบ
- เครื่องคอมพิวเตอร์ Police
- Modem internet
- Com. กับข้อมูลในหน่วย และ โปรแกรมเช็คเบอร์โทร.
3.ข้อมูลงานสืบสวน
1.แฟ้มสืบสวนเฉพาะเรื่อง ได้แก่ แบบ ส.ส. 3 (เก็บในตู้เอกสาร) โดยมีสาเหตุอะไร ตั้งแฟ้ม 1 เรื่อง ได้ข้อมูลอะไร เอาข้อมูลมาเข้าแฟ้มให้หมด แล้วตามเรื่องไปเรื่อย ๆ
2.สถิติคดีอาชญากรรม ไว้ใช้ประเมินผล
3.สมุดควบคุมการสืบสวน ของสถานีตำรวจว่าคดีนี้มอบหมายให้ใครรับผิดชอบ
4.สรุปผลแสดงผลการจับกุมของฝ่ายสืบสวน
5.ภาพถ่าย ประวัติ ตำหนิรูปพรรณผู้ต้องหา
6.แผนประทุษกรรมคนร้าย
7.ข้อมูลท้องถิ่น
8.ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ
9.ข้อมูลทรัพย์สินที่ถูกประทุษร้ายและยังไม่ได้คืน
10.แหล่งข่าว ทำสมุดคุมไว้ แล้วทำ Record การทำงานไว้ ถ้าสายลับทำงานไม่จริงบ่อย ไม่ต้องเสี่ยงต่อไป
11.สมุดรับคำร้องเรียน
12.หมายค้น
13.หมายจับ
การประสานงานหน่วยที่เกี่ยวข้อง
การจัดเก็บข้อมูล
1.จัดเก็บเป็นแฟ้มเอกสาร
- เรียงแฟ้มตามลักษณะงานธุรการ งานสืบสวน
- ข้อมูลงานสืบสวนแยกเป็นสถานที่ บุคคล ประเภทคดี
- ในแต่ละแฟ้มเรียงจากเรื่องก่อนไว้ล่างสุดตามระบบจัดเอกสาร
2.จัดเป็นแฟ้มคอมพิวเตอร์

ข้อสรุป
          ข้อมูลมีความสำคัญ แต่การจัดทำและการจัดเก็บข้อมูลเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และความทุ่มเท ต้องตั้งใจและเริ่มลงมือทำทันที แล้วในอนาคตท่านจะเป็นนักสืบที่เก่งคนหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น